วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

ยอดเขาเอเวอเรสต์

ยอดเขาเอเวอเรสต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยอดเขาเอเวอเรสต์
Mount Everest as seen from Drukair2 PLW edit.jpg
ภาพถ่ายทางอากาศจากทางทิศใต้หลัง Nuptse และ Lhotse
ความสูงจากระดับน้ำทะเล8,848 เมตร (29,029 ฟุต)
อันดับ 1 ในบรรดายอดเขาแปดพันเมตร(Eight-thousander)
พิกัดภูมิศาสตร์:27°59′17″N86°55′31″Eพิกัดภูมิศาสตร์27°59′17″N 86°55′31″E[1]
ที่ตั้ง:พรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต
เทือกเขา:หิมาลัย
การไต่ขึ้นสู่ยอดเขาครั้งแรก (first ascent) :โดย เซอร์เอดมันด์ ฮิลลารี (Edmund Hillary) และ เทนซิง นอร์เก (Tenzing Norgay)
ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1953
เส้นทางปีนเขา (climbing route) ที่ง่ายที่สุด:จากเซาท์โคล (South Col) ประเทศเนปาล
ยอดเขาเอเวอเรสต์ (อังกฤษMount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์)
ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV)
คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว

ที่สุดของความสูง[แก้]

เมื่อปี ค.ศ. 1952 รัฐนาถ สิกดาร์ (Radhanath Sikdarนักคณิตศาสตร์และนักสำรวจจากเบงกอล (Bengal) เป็นคนแรกที่ประกาศว่าเอเวอเรสต์คือยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จากการคำนวณทางตรีโกณมิติ โดยอาศัยข้อมูลที่วัดด้วยกล้องส่องแนว (theodolite) ในที่ที่ไกลจากยอดเขาไป 150 ไมล์ ณ ประเทศอินเดีย
ในวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 ทางการจีนได้ส่งคณะเดินทางสำรวจไปที่ยอดเขา เพื่อคำนวณความสูงของยอดเขา ในวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2548 สำนักงานสำรวจและทำแผนที่แห่งชาติจีน ได้ทำการวัดครั้งล่าสุด พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์มีความสูง 8,844.43 เมตร (29,017 ฟุต 2 นิ้ว) และอาจมีการคลาดเคลื่อนจากการวัดเล็กน้อย
ในปี ค.ศ. 1956 ยอดเขาเอเวอเรสต์วัดความสูงได้ 29,002 ฟุต ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1950 การวัดทำได้แม่นยำขึ้น และให้ความสูง 29,028 ฟุต หรือ 8,848 เมตร ซึ่งตัวเลขนี้ถือเป็นความสูงของยอดเขาเอเวอเรสต์ที่ใช้อ้างถึงโดยทั่วไป และได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลเนปาล อย่างไรก็ดี จากการติดตั้งเครื่องมือที่ยอดเขาของทีมสำรวจสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1999 และทำการวัดความสูงด้วยจีพีเอส (Global Positioning System) แล้ว พบว่าความสูงที่แท้จริงของยอดเขาเอเวอเรสต์ในขณะนั้นคือ 29,035 ฟุต หรือ 8,850 เมตร ทั้งนี้ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาใหม่ที่เกิดขึ้นเพียงไม่กี่แสนปี จึงยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ปีละไม่กี่เซนติเมตร เนื่องจากการที่แผ่นเปลือกโลก (Tectonic plate) ยังคงชนกันอยู่
ยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดเมื่อวัดจากระดับน้ำทะเล แต่ก็ยังกล่าวได้ไม่เต็มปากเต็มคำนักว่ายอดเขาเอเวอเรสต์เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เนื่องจากมีอีกสองยอดเขาที่ดูจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ เมื่อใช้เกณฑ์การวัดที่ต่างกัน ยอดเขาแรกคือ ยอดเขาเมานาโลอา (Mauna Loa) ในหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งถ้าวัดความสูงจากฐานที่จมอยู่ในทะเลแล้วจะพบว่ายอดเขานี้สูงกว่า 9 กิโลเมตร เลยทีเดียว แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาเมานาโลอาจะสูงเพียง 13,680 ฟุต หรือ 4,170 เมตรเท่านั้น อีกยอดเขาหนึ่งคือ ยอดเขาชิมโบราโซ (Mount Chimborazo) ในประเทศเอกวาดอร์ ที่ถ้าวัดจากจุดศูนย์กลางโลกแล้วจะสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ 2,150 เมตร ทั้งนี้เพราะโลกมีลักษณะป่องตรงกลาง แต่เมื่อวัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ยอดเขาชิมโบราโซมีความสูง 6,272 เมตร

การพิชิตยอดเขา[แก้]

ภาพภูเขาเอเวอเรสต์ในมุมกว้าง
ประวัติการเดินทางขึ้นสู่ยอดเขาเอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น