วันศุกร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติ มหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จังหวัดมหาสารคาม

ตราประจำจังหวัด
พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม
ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย มหาสารคาม
ชื่ออักษรโรมัน Maha Sarakham
ชื่อไทยอื่น ๆ สารคาม
ผู้ว่าราชการ นายโชคชัย เดชอมรธัญ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2558)
ISO 3166-2 TH-44
ต้นไม้ประจำจังหวัด พฤกษ์ (มะรุมป่า)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 5,291.683 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 41)
ประชากร 960,588 คน[2] (พ.ศ. 2557)
(อันดับที่ 24)
ความหนาแน่น 181.53 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 16)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศาลากลางจังหวัดมหาสารคาม ถนนเลี่ยงเมืองมหาสารคาม-ร้อยเอ็ด ตำบลแวงน่าง อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทรศัพท์ (+66) 0 4377 7356
โทรสาร (+66) 0 4377 7460
เว็บไซต์ จังหวัดมหาสารคาม
แผนที่



 ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
จังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่กึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เนื้อหา  [ซ่อน] 
1 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
2 ภูมิศาสตร์
2.1 ที่ตั้งและอาณาเขต
2.2 ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
3 ประวัติศาสตร์
4 รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม
5 หน่วยการปกครอง
5.1 การปกครองส่วนภูมิภาค
5.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น
6 ประชากรในจังหวัด
7 ระยะทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ
8 การคมนาคม
9 เศรษฐกิจ
10 ประเพณีและวัฒนธรรม
11 สถานที่สำคัญ
11.1 โบราณสถาน
11.2 พระอารามหลวง
11.3 สถานที่ท่องเที่ยว
11.4 สถานที่สำคัญอื่น
11.4.1 เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม
11.4.2 อำเภอกันทรวิชัย
11.4.3 อำเภอบรบือ
11.4.4 อำเภอแกดำ
11.4.5 อำเภอโกสุมพิสัย
11.4.6 อำเภอวาปีปทุม
11.4.7 อำเภอนาเชือก
11.4.8 อำเภอนาดูน
11.4.9 อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
12 สถานศึกษา
13 บุคคลที่มีชื่อเสียงชาวจังหวัดมหาสารคาม
14 ดูเพิ่ม
15 แหล่งข้อมูลอื่น
16 อ้างอิง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด[แก้]
คำขวัญประจำจังหวัด : พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร
ตราประจำจังหวัด : รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่งนา
ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นพฤกษ์หรือต้นมะรุมป่า (Albizia lebbeck)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกลั่นทมขาวหรือดอกจำปาขาว (Plumeria alba)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปูทูลกระหม่อมหรือปูแป้ง (Thaipotamon chulabhorn)
ภูมิศาสตร์[แก้]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
จังหวัดมหาสารคามตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 5,300 ตารางกิโลเมตร (3,307,300 ไร่) ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 475 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้[3]

ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดกาฬสินธุ์
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดบุรีรัมย์
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดร้อยเอ็ด
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดบุรีรัมย์
ภูมิประเทศ และภูมิอากาศ[แก้]
โดยทั่วไป จังหวัดมหาสารคามมีพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 130 – 230 เมตร ทิศตะวันตกและทิศเหนือเป็นที่สูงในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอกันทรวิชัย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด และค่อย ๆ เทลาดมาทางทิศตะวันออกและทิศใต้[3]

สภาพพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ [3]

พื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ — ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ เช่น ที่ราบลุ่มริมแม่น้ำชี ในบริเวณอำเภอเมืองมหาสารคาม อำเภอโกสุมพิสัย และทางตอนใต้ของจังหวัดแถบชายทุ่งกุลาร้องไห้
พื้นที่ค่อนข้างราบเรียบสลับกับลูกคลื่นลอนลาด — ตอนเหนือของอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย เป็นแนวยาวไปทางตะวันออก ถึงอำเภอเมืองมหาสารคาม
พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดสลับกับพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน — ตอนเหนือและตะวันตกของจังหวัด บริเวณนี้มีเนื้อที่ประมาณครึ่งหนึ่งของจังหวัด
ลักษณะภูมิอากาศ ในเขตจังหวัดมหาสารคาม เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีฝนตกสลับกับอากาศแห้ง ในปี พ.ศ. 2555 มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายเดือน 118.1 มิลลิเมตร และปริมาณน้ำฝนมากที่สุดที่ 414.9 มิลลิเมตร ในเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนมกราคม-กรกฎาคม ที่ 27.91 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด 15.0 องศาเซลเซียส ในเดือนมกราคม ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย ประมาณ 73.55 % (เดือนมกราคม - กรกฎาคม)[3]

ประวัติศาสตร์[แก้]
เมืองมหาสารคามถือว่าเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญและยาวนานมาหลายร้อยปี เพราะได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาตั้งแต่สมัยคุปตะตอนปลายและปัลลวะของอินเดียผ่านเมืองพุกามมาในรูปแบบของศิลปะสมัยทวารวดี เช่น บริเวณเมืองกันทรวิชัย (โคกพระ) และเมืองนครจำปาศรี โดยพบหลักฐาน เป็นพระยืนกันทรวิชัย พระพิมพ์ดินเผา ตลอดทั้งพระบรมสารีริกธาตุ นอกจากนั้นแล้วยังได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ผ่านทางชนชาติขอม ในรูปแบบสมัยลพบุรี เช่น กู่สันตรัตน์ กู่บ้านเขวา กู่บ้านแดง และกู่อื่น ๆ รวมไปจนถึงเทวรูปและเครื่องปั้นดินเผาของขอมอยู่ตามผิวดินทั่ว ๆ ไปในจังหวัดมหาสารคาม

มหาสารคามตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสาน มีชนหลายเผ่า เช่น ชาวไทยพื้นเมืองพูดภาษาอีสาน ชาวไทยย้อและชาวผู้ไท ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี "ฮีตสิบสอง" ประกอบอาชีพด้านกสิกรรมเป็นส่วนใหญ่ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายมีการไปมาหาสู่กัน ช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันตามแบบของคนอีสานทั่วไป

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยก "บ้านลาดกุดยางใหญ่" ขึ้นเป็น เมืองมหาสารคาม โดยแยกพื้นที่และพลเมืองราวสองพันคนมาจากเมืองร้อยเอ็ด และให้ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์) เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมือง มีท้าวบัวทองเป็นผู้ช่วยขึ้นกับเมืองร้อยเอ็ด

ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้แยกเมืองมหาสารคามขึ้นตรงกับกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2412 และร้อยเอ็ดได้แบ่งพลเมืองให้อีกราวเจ็ดพันคน พลเมืองเดิมอพยพมาจากเมืองจำปาศักดิ์ ท้าวมหาชัยและท้าวบัวทองนั้นเป็นหลานโดยตรงของพระยาขัติยวงศา (สีลัง) เจ้าเมืองคนที่ 2 ของเมืองร้อยเอ็ด เดิมกองบัญชาการของเมืองมหาสารคามตั้งอยู่ที่เนินสูงแห่งหนึ่งใกล้กุดนางใย ได้สร้างศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและศาลมเหศักดิ์ขึ้นเป็นที่สักการะของชาวเมือง

เมืองมหาสารคามได้สร้างวัดดอนเมือง ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดข้าวฮ้าว (วัดธัญญาวาส) และได้ย้ายกองบัญชาการไปอยู่ริมหนองกระทุ่มด้านเหนือของวัดโพธิ์ศรีปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2456 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์ เป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัด โดยความเห็นชอบของพระมหาอำมาตยาธิบดี (เส็ง วิริยะศิริ) ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ที่ตั้งศาลากลางหลังเดิม (ที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคามปัจจุบัน) และในปี พ.ศ. 2542 ได้ย้ายศาลากลางไปอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน มีผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัด รวม 46 คน[4]

รายชื่อเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม[แก้]
 ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ได้
ลำดับ ปี พ.ศ. พระนาม / ชื่อ เจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการจังหวัด
1 2408 - 2422 พระเจริญราชเดช (ท้าวมหาชัย กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
2 2422 - 2443 พระเจริญราชเดช (ท้าวไชยวงษา ฮึง ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
3 2443 - 2444 อุปฮาด (เถื่อน รักษิกจันทร์)
4 2444 - 2455 พระเจริญราชเดช (ท้าวโพธิสาร อุ่น ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม)
5 2455 - 2459 หม่อมเจ้านพมาศ นวรัตน์
6 2460 - 2462 พระยาสารคามคณาพิบาล (พร้อม ณ นคร)
7 2462 - 2466 พระยาสารคามคณาพิบาล (ทิพย์ โรจน์ประดิษฐ์)
8 2466 - 2468 พระยาประชากรบริรักษ์ (สาย ปาละนันทน์)
9 2468 - 2474 พระยาสารคามคณาพิบาล (อนงค์ พยัคฆันต์)
10 2474 - 2476 พระอรรถเปศลสรวดี (เจริญ ทรัพย์สาร)
11 2476 - 2482 หลวงอังคณานุรักษ์ (รอ.สมถวิล เทพรคำ)
12 2482 - 2484 หลวงประสิทธิ์บุรีรักษ์ (ประสิทธ์ สุปิยังตุ)
13 2484 - 2486 หลวงบริหารชนบท (ส่าน สีหไตร)
14 2486 - 2489 ขุนไมตรีประชารักษ์ (ไมตรี ไมตรีประชารักษ์)
15 2489 - 2490 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
16 2490 - 2493 ขุนพิศาลาฤษดิ์กรรม (ทองใบ น้อยอรุณ)
17 2493 - 2495 นายเชื่อม ศิริสนธิ
18 2495 - 2500 หลวงอนุมัติราชกิจ (อั๋น อนุมัติราชกิจ)
19 2500 - 2501 ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง บุญยนิตย์)
20 2501 - 2506 นายนวน มีชำนาญ
21 2506 - 2510 นายรง ทัศนาญชลี
22 2510 - 2513 นายเวียง สาครสินธุ์
23 2513 - 2514 นายพล จุฑางกูร
24 2514 - 2517 นายสุจินต์ กิตยารักษ์
25 2517 - 2519 นายชำนาญ พจนา
26 2519 - 2522 นายวุฒินันท์ พงศ์อารยะ
27 2522 - 2523 นายสมภาพ ศรีวรขาน
28 2523 - 2524 ร้อยตรีกิตติ ปทุมแก้ว
29 2524 - 2526 นายธวัช มกรพงศ์
30 2526 - 2528 นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์
31 2528 - 2531 นายไสว พราหมมณี
32 2531 - 2534 นายจินต์ วิภาตะกลัศ
33 2534 - 2535 นายวีระชัย แนวบุญเนียร
34 2535 - 2537 นายภพพล ชีพสุวรรณ
35 2537 - 2538 นายประภา ยุวานนท์
36 2538 - 2540 นายวิชัย ทัศนเศรษฐ
37 2540 - 2542 นายเกียรติพันธ์ น้อยมณี
38 2542 - 2544 นางศิริเลิศ เมฆไพบูลย์
39 2544 - 2546 นายสมศักดิ์ แก้วสุทธิ
40 2546 - 2548 นายวิทย์ ลิมานนท์วราไชย
41 2548 - 2550 นายชวน ศิรินันท์พร
42 2550 - 2551 นายรังสรรค์ เพียรอดวงษ์
43 2551 - 2552 นายพินิจ เจริญพานิช
44 2552 - 2554 นายทองทวี พิมเสน
45 2554 - 2555 นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน
46 2555 - 2557 นายนพวัชร สิงห์ศักดา
47 2557 - 2558 นายชยาวุธ จันทร
48 2558 - ปัจจุบัน นายโชคชัย เดชอมรธัญ
หน่วยการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
จังหวัดมหาสารคามแบ่งการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 133 ตำบล 1,804 หมู่บ้าน มีรายชื่ออำเภอดังนี้

อำเภอเมืองมหาสารคาม
อำเภอแกดำ
อำเภอโกสุมพิสัย
อำเภอกันทรวิชัย
อำเภอเชียงยืน
อำเภอบรบือ
อำเภอนาเชือก
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
อำเภอวาปีปทุม
อำเภอนาดูน
อำเภอยางสีสุราช
อำเภอกุดรัง
อำเภอชื่นชม

แผนที่การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 123 องค์การบริหารส่วนตำบล 1 เทศบาลเมือง และ 18 เทศบาลตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

อำเภอเมืองมหาสารคาม
เทศบาลเมืองมหาสารคาม
เทศบาลตำบลแวงน่าง
อำเภอโกสุมพิสัย
เทศบาลตำบลหัวขวาง
อำเภอกันทรวิชัย
เทศบาลตำบลโคกพระ
เทศบาลตำบลขามเรียง
เทศบาลตำบลท่าขอนยาง
อำเภอเชียงยืน
เทศบาลตำบลเชียงยืน
เทศบาลตำบลโพนทอง
อำเภอชื่นชม
เทศบาลตำบลหนองกุง
เทศบาลตำบลกุดปลาดุก
อำเภอแกดำ
เทศบาลตำบลแกดำ
เทศบาลตำบลมิตรภาพ
อำเภอนาดูน
เทศบาลตำบลนาดูน
เทศบาลตำบลหนองไผ่
เทศบาลตำบลหัวดง
อำเภอบรบือ
เทศบาลตำบลบรบือ
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
เทศบาลตำบลพยัคฆภูมิพิสัย
อำเภอวาปีปทุม
เทศบาลตำบลวาปีปทุม
อำเภอนาเชือก
เทศบาลตำบลนาเชือก
ประชากรในจังหวัด[แก้]
      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
อันดับ
(ปีล่าสุด) อำเภอในจังหวัดมหาสารคาม สิงหาคม พ.ศ. 2558[5] พ.ศ. 2557[6] พ.ศ. 2556[7] พ.ศ. 2555[8] พ.ศ. 2554[9] พ.ศ. 2553[10] พ.ศ. 2552[11] พ.ศ. 2551[12]
1 เมืองมหาสารคาม 160,248 158,510 154,254 145,491 144,488 144,205 143,814 143,281
2 โกสุมพิสัย 120,380 120,584 120,603 120,654 120,370 120,502 120,096 119,692
3 วาปีปทุม 114,210 114,162 114,382 114,688 114,449 114,360 114,192 114,020
4 บรบือ 108,675 108,544 108,525 108,674 108,337 108,446 108,231 107,888
5 พยัคฆภูมิพิสัย 87,687 87,691 87,753 87,767 87,450 88,672 88,334 88,124
6 กันทรวิชัย 86,301 83,951 82,964 80,615 77,921 78,051 78,275 78,616
7 เชียงยืน 61,477 61,565 61,528 61,561 61,566 61,692 61,702 61,704
8 นาเชือก 61,014 61,155 61,239 61,377 61,176 61,155 61,022 60,856
9 นาดูน 37,237 37,224 37,294 37,299 37,139 37,064 36,910 36,682
10 กุดรัง 37,105 37,105 37,010 36,896 36,816 36,807 36,703 36,443
11 ยางสีสุราช 35,273 35,333 35,339 35,391 35,435 35,463 35,444 35,356
12 แกดำ 29,772 29,810 29,810 29,763 29,658 29,617 29,565 29,475
13 ชื่นชม 24,984 24,954 24,943 24,973 24,931 24,877 24,802 24,717
รวม 964,363 960,588 955,644 945,149 939,736 940,911 939,090 936,854
ระยะทางจากอำเภอเมืองมหาสารคามไปยังอำเภอต่าง ๆ[แก้]
อำเภอกันทรวิชัย 18 กิโลเมตร
อำเภอแกดำ 25 กิโลเมตร
อำเภอบรบือ 26 กิโลเมตร
อำเภอโกสุมพิสัย 30 กิโลเมตร
อำเภอกุดรัง 39 กิโลเมตร
อำเภอเชียงยืน 39 กิโลเมตร
อำเภอวาปีปทุม 43 กิโลเมตร
อำเภอนาเชือก 58 กิโลเมตร
อำเภอชื่นชม 59 กิโลเมตร
อำเภอนาดูน 67 กิโลเมตร
อำเภอยางสีสุราช 74 กิโลเมตร
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย 85 กิโลเมตร
การคมนาคม[แก้]

บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากไม่เป็นสารานุกรมในส่วนนี้ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ
ทางรถยนต์: ทางที่สะดวกและสั้นที่สุด คือใช้เส้นทางถนนพหลโยธินเข้าสู่สระบุรี และเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมิตรภาพ ผ่านนครราชสีมา เมืองพล บ้านไผ่ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนแจ้งสนิท เข้าสู่มหาสารคาม
ทางรถโดยสารประจำทาง:โดยที่สถานีขนส่งมหาสารคาม ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลองสมถวิล
โดยมีหลายบริษัทที่บริการเที่ยวรถจากรุงเทพฯ สู่ มหาสารคาม เช่น
บริษัท ขนส่ง จำกัด
บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด
เชิดชัยทัวร์
รุ่งประเสริฐทัวร์
ชาญทัวร์
และยังมีหลายบริษัทที่เปิดให้บริการ โดยผ่านมหาสารคาม หลายบริษัท เช่น สหพันธ์ร้อยเอ็ดทัวร์ แสงประทีปทัวร์ ฯลฯ
ในอำเภอต่างๆ ก็มีรถประจำทางบริการ ได้แก่ พยัคฆภูมิพิสัย วาปีปทุม นาดูน นาเชือก บรบือ กุดรัง และเชียงยืน
นอกจากนี้ยังมีรถโดยสารประจำทางไปในจังหวัดต่างๆด้วย เช่น เชียงใหม่ สกลนคร อุดรธานี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เป็นต้น
ทางรถไฟ: จังหวัดมหาสารคามนั้น ปัจจุบันยังไม่มีทางรถไฟตัดผ่าน อย่างไรก็ตามสามารถใช้บริการได้ที่สถานีรถไฟในจังหวัดขอนแก่น ดังนี้
สถานีรถไฟขอนแก่น จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 71 กิโลเมตร
สถานีรถไฟบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 69 กิโลเมตร
ทางเครื่องบิน: เนื่องจากจังหวัดมหาสารคามไม่มีท่าอากาศยาน แต่สามารถใช้บริการได้ที่ท่าอากาศยานของจังหวัดข้างเคียง ดังนี้
ท่าอากาศยานขอนแก่น โดยสายการบินไทย และสายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวัน รวมวันละ 7 เที่ยวบิน
จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 82 กิโลเมตร

ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด โดยสายการบินนกแอร์ ให้บริการทุกวันๆละ 3 เที่ยวบิน และสายการบินไทยแอร์เอเชีย ให้บริการทุกวันๆละ 2 เที่ยวบิน รวมวันละ 5 เที่ยวบิน
จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 59 กิโลเมตร

ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ โดยสารการบินนกแอร์ ให้บริการทุกวันๆละ 1 เที่ยวบิน จากนั้นต่อรถยนต์มาจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมืองมหาสารคาม) อีกประมาณ 121 กิโลเมตร
ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างรถไฟ สายบ้านไผ่ มหาสารคาม มุกดาหาร
การคมนาคมภายในจังหวัด
ในการเดินทางภายในจังหวัดก็มีรถโดยสารประจำทางให้บริการ และรถสองแถว มอเตอร์ไซค์รับจ้าง สามล้อรับจ้าง และแท็กซี่มิเตอร์
สถานีขนส่งผู้โดยสารในมหาสารคาม
สถานีขนส่งผู้โดยสารเทศบาลเมืองมหาสารคาม
สถานีขนส่งผู้โดยสารบรบือ
สถานีขนส่งผู้โดยสารพยัคฆภูมิพิสัย
สถานีขนส่งผู้โดยสารวาปีปทุม
สถานีขนส่งผู้โดยสารโกสุมพิสัย
เศรษฐกิจ[แก้]
ประเพณีและวัฒนธรรม[แก้]
สถานที่สำคัญ[แก้]
โบราณสถาน[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ รายชื่อโบราณสถานในจังหวัดมหาสารคาม
พระอารามหลวง[แก้]
วัดมหาชัย (พระอารามหลวง) พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
อำเภอเมืองมหาสารคาม
ปรางค์กู่บ้านเขวา
อ่างเก็บน้ำหนองแวง
หมู่บ้านหัตถกรรมบ้านหนองเขื่อนช้าง
แก่งเลิงจาน
วัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
พิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคาม เทศบาลเมืองมหาสารคาม
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมอีสาน
สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
หอเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550
หมู่บ้านปั้นหม้อ
อุทยานมัจฉาโขงกุดหวาย


สถานที่สำคัญอื่น[แก้]

บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ
เขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม[แก้]
วัดอุทัยทิศ
กุดนางใย
เสาหงส์
โฮงเจ้าเมืองคนที่ 1 ที่ตั้งเมืองและศูนย์ราชการ
คลองสมถวิล
วัดนาควิชัย
วัดอภิสิทธิ์
เดิ่นบ้านใหญ่
ตึกดินอาคารพาณิชย์แห่งแรก
ตลาดสี่กั๊ก
โฮงเจ้าเมืองคนที่ 2
โฮงเจ้าเมืองคนที่ 3
ตลาดเจริญ
วัดโพธิ์ศรี
วัดมหาชัย (พระอารามหลวง)
ตลาดสดเมืองมหาสารคาม
หอนาฬิกา
โรงเรียนสารคามพิทยาคม
โรงเรียนเมืองมหาสารคาม(โรงเรียนมหาวิชานุกูล/โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยมหาสารคาม)าง
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
วัดธัญญาวาส
แก่งเลิงจาน
อำเภอกันทรวิชัย[แก้]
พระพุทธรูปยืนมงคล
พระพุทธมิ่งเมือง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดพุทธมงคล
อำเภอบรบือ[แก้]
ปรางค์กู่บัวมาศ
หนองบ่อ
โรงเรียนบรบือวิทยาคาร
อำเภอแกดำ[แก้]
อ่างเก็บน้ำห้วยแอ่ง
อำเภอโกสุมพิสัย[แก้]
บึงบอน
วนอุทยานโกสัมพี
บึงกุย
อำเภอวาปีปทุม[แก้]
กู่บ้านแดง
งานกลองยาว

อำเภอนาเชือก[แก้]
อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดูนลำพัน
อำเภอนาดูน[แก้]
พระบรมธาตุนาดูน
พุทธมณฑลอีสาน
พิพิธภัณฑ์นครจัมปาศรี
พิพิธภัณฑ์บ้านอีสาน
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์
กู่สันตรัตน์
กู่น้อย
ศาลานางขาว
ฮูปแต้มสิมวัดโพธาราม
อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย[แก้]
ศูนย์ศิลปาชีพดอนลี่

บทความนี้ต้องการภาพ ไม่แน่ใจ ประกอบเพิ่มบทความ ด้วยเหตุผล: มีโค้ด gallery ว่างเปล่า
ถ้าคุณสามารถจัดหารูปภาพที่อยู่ในนโยบายการใช้ภาพ กรุณาคลิกที่นี่เพื่อทำการอัปโหลดรูปภาพ จากนั้นแก้ไขบทความนี้เพื่อเพิ่มภาพใหม่

ดูเพิ่มที่ วิธีการใส่ภาพ
สถานศึกษา[แก้]
ดูเพิ่มเติมที่หัวข้อ หมวดหมู่: สถาบันการศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม
ระดับอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม[13]
วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม
วิทยาลัย
วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม
วิทยาลัยอาชีวศึกษามหาสารคาม
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีมหาสารคาม
วิทยาลัยสารพัดช่างมหาสารคาม
วิทยาลัยเทคนิควาปีปทุม
วิทยาลัยการอาชีพพยัคฆภูมิพิสัย
โรงเรียนมัธยม
โรงเรียนมหาวิชานุกูล
โรงเรียนสารคามพิทยาคม
โรงเรียนผดุงนารี
โรงเรียนบรบือวิทยาคาร
โรงเรียนวาปีปทุม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
โรงเรียนพยัคฆภูมิวิทยาคาร
บุคคลที่มีชื่อเสียงชาวจังหวัดมหาสารคาม[แก้]
เกจิ พระอาจารย์

พระเทพวิสุทธิมงคล (ศรี มหาวีโร) ผู้ก่อตั้งพระมหาเจดีย์ชัยมงคล
พระธรรมเจติยาจารย์ พระราชาคณะชั้นธรรม เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน กรุงเทพมหานคร เจ้าคณะภาค ๘ (ธ)
พระเทพสิทธาจารย์ (น้อย ญาณวุฒโฑ) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม เจ้าอาวาสวัดมหาชัย พระอารามหลวง
พระสุทธิธรรมโสภณ (สุทธิพงศ์ ชยุตฺตโม) เจ้าคณะจังหวัดมหาสารคาม (ธ) เจ้าอาวาสวัดป่าวังเลิง
นักการเมือง

ศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช อดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จรัสศรี ทีปิรัช ผู้ว่าราชการจังหวัดหญิงคนแรกของประเทศไทย
ศรีเมือง เจริญศิริ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดมหาสารคาม
ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม
ทองใบ ทองเปาด์ ทนายความ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ ผู้ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 และสมาชิกวุฒิสภา
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม และรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
วรัญชัย โชคชนะ นักการเมืองไทย และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง อดีตผู้สมัครเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหลายสมัย
สุชาติ โชคชัยวัฒนากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดมหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย
นักวิชาการ

ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยนครพนม, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ รักษาการอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และนายกสภาเภสัชกรรม
เสฐียรพงษ์ วรรณปก นักวิชาการทางด้านพุทธศาสนาและภาษาบาลี ราชบัณฑิตสาขาศาสนศาสตร์
ดารา นักแสดง นักร้อง

ศักดิ์สยาม เพชรชมภู - นักร้องเพลงลูกทุ่ง
อภิรดี ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ดารา-นักแสดง
หยอง ลูกหยี นักแสดงตลก
รณวีร์ เสรีรัตน์ (นิก THE STAR 2)
ชาติชาย ปุยเปีย นักจิตรกรไทย
ธัญญารัตน์ จิรพัฒน์พากรณ์ (น้องฟิล์ม) มิสทิฟฟานี่ยูนิเวิร์ส 2007 และ มิสอินเตอร์เนชั่นแนลควีน 2007]]
แคนดี้ รากแก่น นักจัดรายการวิทยุ มีผลงานเด่นในเพลง U GOT ME
คริสโตเฟอร์ โจนาธาน รอย เชฟ (คริส THE STAR 9)
ผา ชนะไดช์ อาร์ สยาม - นักร้องลูกทุ่ง
ศร สินชัย - นักร้องลูกทุ่ง
ไข่แดง อาร์สยาม - นักร้องลูกทุ่ง
ตั้ม ต้องรัก ประถมบันเทิงศิลป์ อาร์ สยาม - นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ
ลำยอง หนองหินห่าว - นักร้องลูกทุ่ง หมอลำซิ่ง
สมบูรณ์ ปากไฟ - นักร้องลูกทุ่ง หมอลำซิ่ง
ชัดขัด ชนนกร - นักร้องลูกทุ่ง
เดือนเพ็ญ อำนวยพร อาร์ สยาม - นักร้องลูกทุ่ง หมอลำ
นักกีฬา

คัพฟ้า บุญมาตุน นักฟุตบอลทีมชาติไทย
ชลทิตย์ จันทคาม นักฟุตบอลทีมชาติไทย
เจษฎา พั่วนะคุณมี อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย สโมสรโอสถสภา m150-สระบุรี
นฤมล ขานอัน นักวอลเลย์บอลอดีตทีมชาติไทย
ฟ้าลั่น ลูกมิ่งขวัญ นักมวยสากลอาชีพอดีตแชมป์โลก
เทพฤทธิ์ ศิษย์หมอเส็ง นักมวยสากลอาชีพอดีตแชมป์โลก
ด้านอื่นๆ

รณชาติ บุตรแสนคม สื่อมวลชน
สมบัติ สิมหล้า หมอแคน ได้รับฉายาว่า "เทพฯแห่งแคน"
เหม ภูมิภาฑิต นิตยารส ดารา ช่อง7
ดูเพิ่ม[แก้]
รายชื่อวัดในจังหวัดมหาสารคาม
รายชื่อโรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม
รายชื่อสาขาของธนาคารในจังหวัดมหาสารคาม
รายชื่อห้างสรรพสินค้าในจังหวัดมหาสารคาม
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
เว็บไซต์ทางการ จังหวัดมหาสารคาม
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เว็บไซต์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
เว็บไซต์องค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
เว็บไซต์ข้อมูลต่าง ๆ ในจังหวัดมหาสารคาม
พิกัดภูมิศาสตร์: 16.18°N 103.29°E

แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดมหาสารคาม
แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย
อ้างอิง[แก้]
กระโดดขึ้น ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
↑ กระโดดขึ้นไป: 3.0 3.1 3.2 3.3 "ข้อมูลทั่วไปจังหวัดมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภ่าคม 2557.
กระโดดขึ้น ↑ "ประวัติเมืองมหาสารคาม". จังหวัดมหาสารคาม. 2556. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภ่าคม 2557.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_57.pdf 2558. สืบค้น 1 มีนาคม 2558.
กระโดดขึ้น ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเนกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑, ตอน ๔๑ ง , ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗, หน้า ๑
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat55.html 2555. สืบค้น 3 เมษายน 2556.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat54.html 2555. สืบค้น 6 เมษายน 2555.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/y_stat53.html 2553. สืบค้น 30 มกราคม 2554.
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552."203.113.86.149/stat/y_stat.htmlสืบค้น 30 มีนาคม 2553
กระโดดขึ้น ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
กระโดดขึ้น ↑ เว็บไซต์สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม

กาฬสินธุ์
ขอนแก่น ร้อยเอ็ด
  มหาสารคาม  

บุรีรัมย์, สุรินทร์
[แสดง] ด พ ก
จังหวัดมหาสารคาม
[แสดง] ด พ ก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[แสดง] ด พ ก
เมืองหลวงและจังหวัดของประเทศไทย แบ่งภาคตามเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสภา
[แสดง] ด พ ก
จังหวัดแบ่งตามเขตในกีฬาแห่งชาติ (กีฬาเขต)
หมวดหมู่: CS1 errors: datesบทความที่ต้องการภาพจังหวัดมหาสารคาม
รายการเลือกการนำทาง
ไม่ได้ล็อกอินพูดคุยเรื่องที่เขียนสร้างบัญชีล็อกอินบทความอภิปรายเนื้อหาแก้ไขประวัติ

หน้าหลัก
ถามคำถาม
บทความคัดสรร
บทความคุณภาพ
เหตุการณ์ปัจจุบัน
สุ่มบทความ
มีส่วนร่วม
เกี่ยวกับวิกิพีเดีย
ศาลาประชาคม
ปรับปรุงล่าสุด
ติดต่อวิกิพีเดีย
บริจาคให้วิกิพีเดีย
วิธีใช้
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
อัปโหลดไฟล์
หน้าพิเศษ
ลิงก์ถาวร
สารสนเทศหน้า
Wikidata item
อ้างอิงบทความนี้
พิมพ์/ส่งออก
สร้างหนังสือ
ดาวน์โหลดเป็น PDF
รุ่นพร้อมพิมพ์
ในโครงการอื่น
Wikimedia Commons
ภาษาอื่น
Acèh
العربية
Български
বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী
Deutsch
English
Español
فارسی
Français
Galego
हिन्दी
Bahasa Indonesia
Italiano
日本語
ភាសាខ្មែរ
한국어
ລາວ
Malagasy
Bahasa Melayu
Nederlands
Norsk bokmål
Polski
پنجابی
Português
Română
Русский
Svenska
Тоҷикӣ
اردو
Tiếng Việt
Winaray
中文
Bân-lâm-gú
แก้ไขลิงก์
หน้านี้แก้ไขล่าสุดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 23:52 น.
อนุญาตให้เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน และอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ดูรายละเอียดที่ ข้อกำหนดการใช้งาน
Wikipedia® เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น