วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

เทคนิคการทำการบ้าน

 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
            หลังจากมหกรรมหยุดยาวปิดเทอมผ่านไป เราก็กลับมาสู่ช่วงเปิดเทอมกันอีกแล้วววววว เปิดเทอมไม่น่ากลัวเท่ากองภูเขาการบ้านที่กำลังกลับมาใช่มั้ย งั้นพี่เมษ์จะขอนำเสนอ 10 เทคนิค เคลียร์การบ้านรับเปิดเทอม ถ้าทำตามนี้ รับรองว่าการบ้านมากแค่ไหนก็มีแรงจะทำแน่นอน พร้อมรึยังคะ พร้อมแล้วลุย!!!

ตั้งใจเรียน
         พี่เมษ์ไม่ได้ให้น้องๆ ตั้งใจเรียนเพื่อเอาความรู้มาทำการบ้าน อันนั้นมัน simply ไป แต่พี่เมษ์จะบอกว่า ที่คุณครูสั่งการบ้านเนี่ย ส่วนหนึ่งเพราะเวลาเรียนไม่พอ สอนไม่ทัน จำเป็นต้องสอนแบบรีบๆ ให้ครบทุกหัวข้อ เลยต้องให้การบ้าน ถ้าน้องๆ เข้าเรียนตรงเวลา ไม่คุยกัน ไม่ขอคาบคุณครูไปทำกิจกรรม ฯลฯ คุณครูก็มีเวลาสอนมากขึ้น การสั่งการบ้านจะลดลง ไม่เชื่อลองดูได้เลย เพราะที่น้องๆ คิดว่าคุณครูสั่งการบ้านเยอะจัง อย่าลืมนะคะว่าเวลาตรวจ คุณครูก็ตรวจเยอะเหมือนกัน งั้นเรา win - win ดีกว่ามั้ย
 
วางแผนการ ทำ Schedule
         จะทำการบ้านทั้งที ต้องมีแผนการที่ดี ไม่ใช่นึกอยากจะหยิบก็หยิบขึ้นมาทำ แบบนั้นแย่แน่ๆ มีโอกาสลืมทำวิชานั้น ไม่ได้ทำวิชานี้ แก้ปัญหาง่ายๆ พี่เมษ์แนะนำให้น้องๆ  ทำตารางการทำการบ้าน จดวันเวลาที่ต้องส่งการบ้านให้ชัดเจน ไม่พลาดวันส่ง พี่เมษ์แนะนำอีกนิดว่า ควรจดรายละเอียดงานเอาไว้ด้วย ว่าคุณครูอยากได้งานแบบไหน มีรายละเอียดอะไรบ้าง เวลาที่ทำการบ้านก็หยิบเอามาดูซะหน่อย จะได้ทำได้ตรงตามที่คุณครูต้องการไง
 
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
จัดลำดับการทำการบ้าน
         มีตารางชัดเจนแล้วว่าอะไรส่งก่อน ส่งหลัง รู้แล้วว่าแต่ละชิ้นมีเวลาทำนานแค่ไหน พี่เมษ์ว่า เราต้องจัดการขั้นต่อไป นั่นก็คือ การเรียงลำดับการทำการบ้าน พี่เมษ์มีทริคมาแนะนำให้ลองกันหลายรูปแบบเลยแหละ เลือกใช้ได้เต็มที่เลยนะคะ
  • ทำที่ยากมากก่อน
     ถ้าน้องๆ เป็นคนที่ ยิ่งทำงานยิ่งท้อ ให้ทำเรื่องยากก่อนค่ะ เพราะพอผ่านจุดที่ยากไปแล้ว ถึงจะท้อ จะหมดแรง ก็มีแต่การบ้านชิ้นง่ายๆ ไว้ให้ทำแล้ว อีกนิดเดียว น้องๆ ผ่านไปได้แน่
  • ทำการบ้านที่ยากน้อยก่อน
     กลับกันกับข้อเมื้อกี้ ถ้าน้องเป็นกลุ่มที่ยิ่งทำการบ้าน ยิ่งมีไฟยิ่งทำมากขึ้น ยิ่งมันส์ พี่เมษ์ว่าค่อยๆ สตาร์ทจากการบ้านง่ายๆ เป็นการอุ่นเครื่องสมอง ทำเสร็จแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มเลเวลของความยากของงานไปเรื่อยๆ อื้อหือ พอทำเสร็จนี้คงมันส์ขั้นสุด ฟินกันเลยทีเดียว
  • ทำเรียงลำดับตามการส่ง
      อันนี้แบบปกติ แต่มีหลักการว่า ต้องทำเรียงลำดับ ส่งก่อน ทำก่อนค่ะ ถ้าส่งวันเดียวกัน ให้ดูที่เวลา เรียงลำดับตามเวลาส่งกันไป รูปแบบนี้ไม่ต้องคิดมาก แค่ค่อยๆ ทำไป ชิลๆ เดี๋ยวก็เสร็จทุกวิชา
  • เลือกทำการบ้านที่มีคะแนนมากก่อน
     อันนี้มีตรรกะแบบดูคะแนนเป็นหลัก ถ้าคะแนนเยอะก็รีบทำให้เสร็จเรียบร้อย ชิ้นไหนคะแนนน้อยหน่อยก็ให้น้ำหนักในการทำลดลงมา เช่น โครงงานชิ้นนึง 50 คะแนน ก็เสียเวลาทำนานๆ หน่อย ถึงแม้จะชอบวาดรูประบายสี แต่คะแนนแค่ 5 คะแนน ก็ต้องเลือกทำโครงงานจริงมั้ยค่ะน้องๆ
  • ทำสลับๆ กันไป
  อย่าคิดว่าไม่มีคนแบบนี้นะคะ การทำการบ้านสลับๆ กันไป ทำให้ไม่เบื่อ เพราะน้องๆ ได้เปลี่ยนบรรยากาศของการบ้านไปเรื่อยๆ เปลี่ยนวิชาสลับไปสลับมา ก็ช่วยลดความเบื่อหน่ายได้เยอะเลย แต่ระวังจะสับสนแค่นั้นเองค่ะ แนะนำให้ทำจบไปเป็นข้อๆ แล้วสลับไปวิชาอื่นๆ อีกสักข้อ อาจจะสลับกันไปมาระหว่างวิชาที่ชอบกับวิชาที่ไม่ชอบก็ได้
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม

แยกกองการบ้าน 
         ก่อนเริ่มทำการบ้านพี่เมษ์แนะนำให้แยกกองการบ้าน และหนังสือที่ใช้ประกอบการทำการบ้านไว้ให้เรียบร้อยตามที่น้องๆ ได้เรียงลำดับเอาไว้แล้ว ค่อยๆ ทำจากบนสุด เมื่อทำเสร็จแล้วก็เคลียร์ออกไปให้อยู่คนละกองกันชัดเจน จะทำให้น้องๆ มีแรงฮึดทำการบ้านให้ครบนั่นเองค่ะ หรือถ้าเหนื่อยก็หันไปดูแล้วสยองว่า อู้ว เหลืออีกเยอะเลย ต้องรีบทำละ อย่างงี้ไงละคะ 555

จัดอุปกรณ์
         การจัดอุปกรณ์ให้พร้อมก็จำเป็นนะคะ เพราะถ้าอุปกรณ์อยู่คนละทิศคนละทาง จะใช้งานอะไรทีต้องวิ่งไปหาทั่วบ้านทีนี่ทำให้หงุดหงิดใจน่าดูเลย แถมพอจะใช้ดันมาหมด อย่างกำลังจะบีบกาว แล้วกาวหมดนี่ เสียอารมณ์ไม่อยากทำต่อกันเลยทีเดียวจริงมั้ย ดังนั้น บนโต๊ะทำการบ้านควรมีอุปกรณ์ครบถ้วน ก่อนทำการบ้านหรือทำงานสักชิ้นจึงควรนึกให้ดีว่าเราต้องใช้อะไรบ้างแล้วก็จัดเตรียมให้พร้อม แต่ถ้านึกไม่ออกพี่เมษ์ก็เอาตัวอย่างที่มีคนทำเอาไว้มาให้ดู เผื่อจะได้ไอเดียไปใช้กับโต๊ะอ่านหนังสือของน้องๆ ด้วยหละ
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม

สถานที่ทำการบ้าน บรรยากาศในการทำการบ้าน
         สถานที่และบรรยากาศในการทำการบ้านไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้ามนะคะ ถ้าน้องๆ เลือกสถานที่สำหรับทำการบ้าน และสร้างบรรยากาศในการทำการบ้านได้ดี ก็จะทำให้น้องๆทำการบ้านได้แฮปปี้มากขึ้น พี่เมษ์มีสถานที่และบรรยากาศมาแนะนำกัน
  • โรงเรียน
      ถ้าน้องๆ คิดว่า หลังเลิกเรียน ต้องเรียนพิเศษ อ่านหนังสือ ต้องการเวลาใช้ชีวิตอื่นๆ อย่างเล่นเกมส์ เล่นกีฬา การทำการบ้านที่โรงเรียนในตอนเที่ยง ก่อนกลับบ้าน หรือ ช่วงรอก่อนเข้าเรียนพิเศษ อาจเลือกมุมสงบๆ ถ้าต้องการปลีกวิเวกอย่างในห้องสมุด หรือซุ้มที่นั่ง หรือถ้าไม่ชอบความสงบมากก็อาจจะหามุมที่ชอบก็ได้ค่ะเพื่อทำการบ้าน
  • ทำการบ้านเป็นกลุ่ม
      ก็เป็นการสร้างความน่าสนใจในการทำการบ้าน เพราะมีเพื่อนช่วยกันดู ช่วยกันคิด ช่วยกันเถียงไปทำไปก็ไม่เหงาดีนะคะ แถมไม่ง่วง ไม่หลับแน่นอนค่ะ แต่ต้องระวังจะคุยเพลินไม่ได้ทำการบ้านนะคะ 555
  • ฟังเพลงตอนทำการบ้าน
      บางคนชอบทำในที่เงียบๆ แต่พอเงียบมากๆ ก็ง่วงนอนอีก งั้นเพลงก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้การทำการบ้านน่าทำมากขึ้น ไม่ง่วง ไม่หลับ ไม่เบื่อเลือกเพลงะตามใจชอบเลย ใครชอบช้าๆ ซึ้งๆ ก็จัดไป หรือถ้าใครกลัวหลับ จะเปิดฮิปฮอป แรพ อะไรก็จัดมาเลย เต็มที่
  • ทำไปกินไป
      การกินไปเรื่อยๆ ทำการบ้านไปด้วย เพลินดีนะคะ จะเลือกน้ำ ขนม นม หรือผลไม้ก็ได้ หาที่สดชื่นจะได้ตื่นเต็มตา ทำการบ้านได้เต็มที่ แถมไม่หิว ไม่โมโหหิวและไม่เครียด แต่ที่น่าห่วงคือกินไปด้วยนานๆ ก็อ้วนอยู่นะ เลือกขนมที่เอามาทานก็หายห่วงละค่ะ 
  • จัดโต๊ะ จัดแสงให้เหมาะสม
​      การจัดโต๊ะทำให้น้องๆ อยากทำการบ้านมากขึ้นนะคะ เพราะดูโล่งตา น่าทำการบ้านเป็นที่สุด ส่วนเรื่องแสงเนี่ย ถ้าจัดแสงน้อยเกินไปก็ทำให้ง่วง และส่งผลต่อสายตา อาจทำให้สายตาสั้นได้นะคะถ้าแสงไม่เพียงพอ

  
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม

Re - Write
         อย่าๆ อย่าเข้าใจว่าพี่แนะนำให้ลอกการบ้านเพื่อนนะคะ แต่เป็นการคุยกับเพื่อนๆ ถ้าต้องทำการบ้านแบบรายงาน โปรเจค โครงงาน ฯลฯ เพราะการคุยกันทำให้ได้ไอเดียในการเขียนงาน หรือทำรายงานมากขึ้น แต่อย่าลอกเด็ดขาดเชียว เพราะถ้าคุณครูรู้ละก็ มีสิทธิ์ได้ 0 คะแนนแทนแน่ๆ แค่คุยๆ ขอดูแนวทางเพื่อจะได้เข้าใจ มีแนวทางในการเขียนงานไงหล่ะ
 
ทำให้เป็นชีวิตประจำวัน
         จริงๆ ถ้าจะบอกว่าการบ้านเป็นเรื่องน่าเบื่อมั้ย ก็ต้องยอมรับนะว่ามีบ้างทีก็รู้สึกน่าเบื่อ แต่ถ้าน้องๆ ทำให้การทำการบ้านเป็น Routine เหมือนการกินข้าว หรือการเล่นเฟสบุค คือ กลายเป็นนิสัย เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตประจำวัน ก็จะทำให้น้องๆ รู้สึกเบื่อน้อยลง เพราะการทำการบ้านกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันไปแล้ว
 
"Facebook" นางฟ้า ในคราบ ซาตาน
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม
         เป็นการเลือกใช้สื่อนะคะ เพราะเฟสบุคเนี่ย ถ้าเล่นนานอาจเพลินไม่ได้ทำการบ้าน แต่ถ้าใช้ให้เป็นเฟสบุคก็มีประโยชน์นะ ลองตั้งกลุ่มบนเฟสบุคสิ ให้เป็นกลุ่มของเพื่อนๆ ในห้องเรียนของเรา เพราะเวลามีการบ้าน เราก็จะได้แชร์กันว่าทำยังไง ได้คำตอบอย่างไรบ้าง แต่ต้องช่วยกันนะ อย่ากินแรงกัน อาจจะมีผู้ดูแลกลุ่มสักคน คอยตั้งStatus ถามการบ้านสักคน จะได้แลกเปลี่ยนกันเข้ามาตอบยังไงคะ
 
สร้าง Theme ในการทำการบ้าน
         อย่าเพิ่งงงว่าการบ้านมีธีมได้ด้วยเหรอ ,,, มีได้สิค่ะ ถ้าวางแผน พี่เมษ์เองใช้แผนนี้บ่อยที่สุดด้วย ฮ่าๆๆ คือ พี่เมษ์จะจับทางแล้วว่า เทอมนี้เค้าจะเรียนอะไรกันบ้าง คุณครูเน้นอะไร มีวิชาไหนบ้างที่สั่งการบ้านรูปแบบคล้ายๆ กัน แล้วก็ทำการบ้านให้สามารถเอื้อประโยชน์ได้หลายๆ ชิ้น เช่น คุณครูให้ทำการบ้านวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำศัพท์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน แต่ก็มีการบ้านวิชาสังคม เรื่อง สรุปสถานการณ์โลกปัจจุบันด้วย น้องๆ เห็นอะไรมั้ย ว่ามันมีส่วนคล้ายกัน ทำยังไงให้ได้หัวข้องานที่สามารถใช้ได้สองวิชาละ พี่เมษ์ก็เลยเลือกทำการบ้านด้วยการศึกษาคำที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันจากข่าวและคำพูดของคนดังในรอบปี ส่วนที่เป็นคำศัพท์ก็นำไปใช้ในวิชาภาษาอังกฤษ ส่วนที่เป็นเนื้อข่าวก็เลือกใช้ในวิชาสังคมศึกษา เห็นมั้ย ศึกษาครั้งเดียวได้งานสองวิชาเลย แค่แยกส่วนกันแค่นั้นเอง อู้ววววว คุ้มค่าแน่นอน ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัวสุดๆ

         ครบกันแล้วทั้ง 10 วิธี จะเลือกใช้แค่บางข้อ หรือ เลือกใช้ทุกข้อตามชั้นตอนก็ไม่ผิดค่ะ เพราะทุกคนมีความเป็นตัวของตัวเอง มีสไตล์ในแบบตัวเอง แค่เลือกให้เข้ากับตัวเองแค่นั้นเนอะ น้องๆ ก็จะมีความสุขกับการทำการบ้านมากขึ้น และก็เคลียร์การบ้านได้รวดเร็วขึ้น จะได้ใช้เวลาที่เหลือไปอ่านหนังสือ เพราะชีวิตวัยรุ่นมันเหนื่อยกว่าที่คิด สู้ๆค่ะ
 
         อ่อ แล้วถ้าน้องๆ มีทริคอื่นๆ มาบอกเพื่อนๆ ก็คอมเม้นท์บอกกันไว้เลยนะคะ เราจะฝ่ามหกรรมการบ้านเท่ากองภูเขาไปด้วยกัน 
 10 เทคนิครับมือ!! การบ้านล้นมือช่วงเปิดเทอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น