โดราเอมอน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอน สำหรับตัวละครโดราเอมอน ดูที่ โดราเอมอน (ตัวละคร)
โดราเอมอน
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน
ชื่อ โดราเอมอน
ชื่อญี่ปุ่น ドラえもん
ชื่ออังกฤษ Doraemon
ประเภท สำหรับเด็ก
แนว ตลก-ดราม่า, ไซไฟ
มังงะ
เขียนเรื่อง ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ
สำนักพิมพ์ โชงะกุกัง
เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์
นิตยสาร โชงะกุอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์
โคโรโคโรคอมิก
เทเลบิคุง
เมื่อ พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2539
จำนวนเล่ม 45 เล่ม (รายชื่อตอน)
อะนิเมะ
โดราเอมอน
กำกับ มิตสึโอะ คามิริ
สตูดิโอ นิปปอนเทเลวิชัน โดงะ
ฉายครั้งแรก 1 เมษายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน
พ.ศ. 2516
อะนิเมะ
โดราเอมอน (1979)
กำกับ เรียว โมโตฮิระ > สึโตมุ ชิบายามะ
สตูดิโอ ชินเอย์แอนิเมชัน
ฉายครั้งแรก 2 เมษายน พ.ศ. 2522 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2548
อะนิเมะ
โดราเอมอน (2005)
กำกับ โคโซ คุสึบะ > โซอิจิโร เซ็น
สตูดิโอ Asatsu-DK, ชินเอย์แอนิเมชัน
ฉายครั้งแรก 15 เมษายน พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมการ์ตูนญี่ปุ่น
โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมว ชื่อ โดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง[3][4]โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน[5] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น[6] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[7] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น[8] นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายนพ.ศ. 2552[9]
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[10][11] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส วิดีโอ[12]
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เกี่ยวกับการ์ตูนโดราเอมอน สำหรับตัวละครโดราเอมอน ดูที่ โดราเอมอน (ตัวละคร)
โดราเอมอน | |
ตัวละครหลักของเรื่องโดราเอมอน | |
ชื่อ | โดราเอมอน |
ชื่อญี่ปุ่น | ドラえもん |
ชื่ออังกฤษ | Doraemon |
ประเภท | สำหรับเด็ก |
แนว | ตลก-ดราม่า, ไซไฟ |
มังงะ | |
เขียนเรื่อง | ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ |
สำนักพิมพ์ | โชงะกุกัง เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ |
นิตยสาร | โชงะกุอิจิเน็นเซย์-โยะเน็นเซย์ โคโรโคโรคอมิก เทเลบิคุง |
เมื่อ | พ.ศ. 2512 – พ.ศ. 2539 |
จำนวนเล่ม | 45 เล่ม (รายชื่อตอน) |
อะนิเมะ | |
โดราเอมอน | |
---|---|
กำกับ | มิตสึโอะ คามิริ |
สตูดิโอ | นิปปอนเทเลวิชัน โดงะ |
ฉายครั้งแรก | 1 เมษายน พ.ศ. 2516 – 30 กันยายน พ.ศ. 2516 |
อะนิเมะ | |
โดราเอมอน (1979) | |
กำกับ | เรียว โมโตฮิระ > สึโตมุ ชิบายามะ |
สตูดิโอ | ชินเอย์แอนิเมชัน |
ฉายครั้งแรก | 2 เมษายน พ.ศ. 2522 – 18 มีนาคม พ.ศ. 2548 |
อะนิเมะ | |
โดราเอมอน (2005) | |
กำกับ | โคโซ คุสึบะ > โซอิจิโร เซ็น |
สตูดิโอ | Asatsu-DK, ชินเอย์แอนิเมชัน |
ฉายครั้งแรก | 15 เมษายน พ.ศ. 2548 – ปัจจุบัน |
โดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもん Dora'emon โดะระเอะมง ?) หรือ โดเรมอน เป็น การ์ตูนญี่ปุ่น แต่งโดย ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ เรื่องราวของหุ่นยนต์แมว ชื่อ โดราเอมอน โดยฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้กล่าวว่าโดราเอมอนเกิดวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 2112 (พ.ศ. 2655) มาจากอนาคตเพื่อกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ เด็กประถมจอมขี้เกียจด้วยของวิเศษจากอนาคต โดราเอมอนเริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2513 โดยสำนักพิมพ์โชงะกุกัง[3][4]โดยมีจำนวนตอนทั้งหมด 1,344 ตอน[5] ต่อมาในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดราเอมอนได้รับรางวัลเทะซุกะ โอซามุ ครั้งที่ 1 ในสาขาการ์ตูนดีเด่น[6] อีกทั้งยังได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์เอเชีย ให้เป็นหนึ่งในวีรบุรุษของทวีปเอเชีย จากประเทศญี่ปุ่น[7] จากนั้นในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2551 โดราเอมอนก็ได้รับเลือกให้เป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น[8] นอกจากนี้บริษัทบันได ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าการ์ตูนที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น ยังได้ผลิตหุ่นยนต์โดราเอมอนของจริงขึ้นมาในชื่อว่า "My โดราเอมอน" โดยออกวางจำหน่ายครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายนพ.ศ. 2552[9]
ในประเทศไทย โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนมีการตีพิมพ์โดยหลายสำนักพิมพ์ในช่วงก่อนที่จะมีลิขสิทธิ์การ์ตูน[10][11] แต่ปัจจุบัน สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ เป็นผู้ได้รับลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ส่วนฉบับอะนิเมะ ออกอากาศทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. หรือโมเดิร์นไนน์ทีวี ในปัจจุบัน และวางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดี-ดีวีดี ลิขสิทธิ์โดยบริษัทโรส วิดีโอ[12]
เนื้อหา
โครงเรื่อง[แก้]
เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของไจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)
เนื้อเรื่องส่วนมากจะเกี่ยวกับปัญหาของโนบิตะเด็กชายชั้น ป.4 ที่มักถูกเพื่อนๆ แกล้ง (แต่บ่อยครั้งก็เป็นฝ่ายหาเรื่องใส่ตัวเอง) ไม่ค่อยชอบทำการบ้าน, อ่านหนังสือ และไปโรงเรียนสายบ่อย ๆ โดยมีเพื่อนที่เป็นตัวละครสำคัญในเรื่องคือโดราเอมอน (โนบิตะทำอะไรไม่ค่อยเป็น ต้องพึ่งโดราเอมอนแทบทุกอย่าง) หุ่นยนต์แมวจากอนาคตที่คอยดูแลช่วยเหลือโนบิตะตลอดเวลาด้วยของวิเศษจากอนาคต ไจแอนท์เด็กที่ดูเป็นอันธพาล แต่ที่จริงเป็นคนอารมณ์อ่อนไหวและรักการร้องเพลง ซูเนโอะผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ เป็นคู่หูกับไจแอนท์ที่คอยกลั่นแกล้งโนบิตะอยู่ตลอด เดคิสุงิ เป็นเด็กเรียนเก่ง นิสัยดี รักความถูกต้อง มีน้ำใจ แต่ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ชิซุกะผู้หญิงเพียงคนเดียวในกลุ่มเป็นเด็กเรียนดีชอบช่วยเหลือผู้อื่น เป็นเด็กสาวที่โนบิตะหลงรัก ในอนาคตก็ได้มาเป็นเจ้าสาวของโนบิตะด้วย ไจโกะน้องสาวของไจแอนท์ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก ตัวละครสำคัญนอกจากนี้ก็มีโดเรมี หุ่นยนต์แมวที่มีกระเป๋ามิติที่ 4 และของวิเศษ (แต่จะออกน่ารักๆ ดูเป็นแบบผู้หญิงมากกว่า) เช่นเดียวกับโดราเอมอนผู้เป็นพี่ชาย และคุณพ่อและแม่ของโนบิตะ ซึ่งแม่ดูจะมีบทบาทในเรื่องมากกว่าพ่อ
แม้ว่าโนบิตะ ไจแอนท์ ซูเนโอะ และคนอื่นจะดูเหมือนมีปัญหากันบ่อยแต่ลึกแล้วก็รักและช่วยเหลือกันดี จะเห็นได้จากตอนพิเศษต่างๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ต้องออกไปผจญภัย (บางทีก็นอกโลก ใต้ทะเล หรือว่ายุคไดโนเสาร์)
ประวัติและที่มาของโดราเอมอน[แก้]
การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น[4]แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น[4]
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดตัวในปีเดียวกัน เริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง และนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 (เดือนมกราคม ค.ศ. 1970)[4]
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันในนิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสารโชงะกุอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตรยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[13] โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[4]
การ์ตูนโดราเอมอน ได้รับแรงบันดาลใจเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) เนื่องจากนักวาดการ์ตูนทั้ง 2 ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ ได้ลงโฆษณาการ์ตูนเรื่องใหม่ของเขาทั้งสองไว้ว่าจะมีตัวเอกที่ออกมาจากลิ้นชัก ในนิตยสารการ์ตูนฉบับต้อนรับปีใหม่ ที่จะมาแทนการ์ตูน เจ้าชายจอมเปิ่น[4]แต่ในความจริงแล้วทั้งสองยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้แม้แต่น้อยเลย เมื่อใกล้ถึงเวลาส่งต้นฉบับก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทั้งสองเป็นอย่างมาก
ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ หนึ่งในนักวาดการ์ตูน ได้เผอิญเห็นแมวจรจัดที่มักแอบเข้ามาเล่นที่บ้านของตนเองเป็นประจำ เขามักจะชอบจับแมวตัวนี้มาหาหมัด จนเวลาล่วงเลยมาถึง 4.00 น. ก็ยังไม่มีไอเดียเกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องใหม่ ทำให้ฮิโรชิโมโหตัวเองเป็นอย่างมาก และคิดเลยเถิดไปว่าโลกนี้น่าจะมีไทม์แมชชีน เพื่อย้อนเวลากลับไปแก้ไขอดีต หลังจากนั้นฮิโรชิได้เผลอหลับไปด้วยความอ่อนล้า เมื่อเขาสะดุ้งตื่นขึ้นมา ทำให้เขาตกใจว่าตนเองเผลอหลับไป จึงรีบวิ่งลงจากบันไดบ้านไปสะดุดกับตุ๊กตาล้มลุกญี่ปุ่นของลูกสาวที่ตกอยู่บนพื้น[4]
เหตุนี้เองทำให้ฮิโรชิเกิดไอเดียขึ้นโดยนำหน้าแมวจรจัดมาผสมกับตุ๊กตาญี่ปุ่น สร้างออกมาเป็นตัวละครหุ่นยนต์แมวจากอนาคตคอยช่วยเหลือเด็กชายที่แสนจะไม่ได้เรื่อง และตั้งชื่อว่า โดราเอมอน เป็นคำผสมระหว่าง "โดราเนโกะ" กับ "เอมอน" ในภาษาญี่ปุ่น โดราเนโกะนั้นแปลว่าแมวหลงทาง ส่วนคำว่า "เอมอน" เป็นคำเรียกต่อท้ายชื่อของเด็กชายในสมัยก่อนของประเทศญี่ปุ่น และได้เปิดตัวในปีเดียวกัน เริ่มตีพิมพ์ในนิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง และนิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - 4 (เดือนมกราคม ค.ศ. 1970)[4]
การ์ตูนโดราเอมอน ลงตีพิมพ์พร้อมกันในนิตยสาร 6 ฉบับคือ นิตรยสารโยะอิโกะ, นิตรยสารโยชิเอ็ง, นิตรยสารโชงะกุอิชิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 1), นิตรยสารโชงะกุนิเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 2), นิตยสารโชงะกุซังเน็นเซ (นิตยสารเพื่อการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 3) และนิตยสารโชงะกุโยเน็นเซ โดยมีทั้งหมด 1,344 ตอน[13] โดยเขียนให้เหมาะกับผู้อ่านแต่ละระดับอายุ ซึ่งการ์ตูนได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก[4]
รายชื่อตัวละคร[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตัวละครในโดราเอมอน
ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้
- โดราเอมอน
- โดราเอม่อน ทุกคนต่างเรียกกันว่า โดเรม่อน โดราม่อน โดราจัง หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[14])
- โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)
- เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี
- ชิซุกะ (มินาโมโตะ ชิซุกะ)
- เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค[15])
- ซึเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)
- เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส[16])
- ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
- เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์[17])
- โดเรมี
- หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตัวละครในโดราเอมอน
ในการ์ตูนเรื่องโดราเอมอน เป็นเรื่องราวของกลุ่มเพื่อนในวัยเด็ก 4 คน และมีหุ่นยนต์แมวจากอนาคตเป็นตัวละครหลักดังนี้
- โดราเอมอน
- โดราเอม่อน ทุกคนต่างเรียกกันว่า โดเรม่อน โดราม่อน โดราจัง หุ่นยนต์แมวจากอนาคตกลับมาช่วยเหลือโนบิตะ โดยเซวาชิผู้เป็นเหลนของโนบิตะเป็นผู้ส่งมา โดเรมอนกลัวหนูมาก เพราะเคยโดนหนูแทะหู จนต้องตัดหูทิ้ง ชอบกินโดรายากิ เนื่องจากตอนที่อยู่โลกอนาคตยังไม่มาหาโนบิตะโดราเอมอนได้รับโดรายากิกับแมวผู้หญิงตัวหนึ่งซึ่งน่ารักมาก โดราเอมอนจึงชอบเป็นพิเศษ จะมีอารมณ์โกรธทันทีเมื่อมีใครเรียกเขาว่า "แรคคูน" หรือ "ทานุกิ" (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ฉันทนา ธาราจันทร์[14])
- โนบิตะ (โนบิ โนบิตะ)
- เด็กชายที่ไม่เอาไหน ทั้งเรื่องการเรียน กีฬา นิสัยขี้เกียจ และชอบนอนกลางวัน สอบก็ได้ 0 คะแนนทุกครั้ง แต่ก็มีความสามารถด้านยิงปืนและพันด้าย และเป็นคนมีน้ำใจ ชอบชิซุกะมานาน และมักถูกไจแอนท์กับซึเนะโอะแกล้งประจำ แต่ก็เปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อโดราเอมอนไม่ได้อยู่กับเขาแล้ว จะมีอารมณ์ไม่พอใจเมื่อเดคิสุงิอยู่ใกล้กับซิซุกะ เพราะคิดว่าซิซุกะแอบชอบเดคิสุงิ แต่ถึงอย่างไรตอนอนาคตก็ได้แต่งงานกับโนบิตะอยู่ดี
- ชิซุกะ (มินาโมโตะ ชิซุกะ)
- เด็กสาวน้ำใจดี เป็นที่รักของทุกคน ชอบการอาบน้ำเป็นอย่างมากและชอบเล่นเปียโน เป็นเด็กสาวที่โนบิตะแอบชอบ และชอบกินสปาเก็ตตี้และมันเผาเป็นพิเศษ อนาคตเธอก็ได้แต่งงานกับโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย ศรีอาภา เรือนนาค[15])
- ซึเนโอะ (โฮเนคาวะ ซึเนะโอะ)
- เด็กขี้อวดประจำโรงเรียน ฐานะดี และเป็นเพื่อนซี้กับไจแอนท์ ผู้มีฐานะทางบ้านดีที่สุดในกลุ่ม มีนิสัยชอบคุยโม้ ชอบพูดยกยอ และขี้ประจบ ชอบเอาของมาอวดให้พวกๆอิจฉาแต่ก็พร้อมที่จะเจออันตรายกับพวกเพื่อนๆได้ในตอนที่เป็นภาพยนตร์ มักจะวางแผนกับไจแอนท์เพื่อแกล้งโนบิตะ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส[16])
- ไจแอนท์ (โกดะ ทาเคชิ)
- เด็กอ้วน หัวโจกประจำกลุ่ม ชอบแกล้งโนบิตะเป็นประจำ แต่ก็มีหลายครั้งที่แสดงความผูกพันกับโนบิตะ (อยากขอร้องให้ช่วย) ฝันอยากจะเป็นนักร้องแต่เสียงไม่เอาไหน แต่บางครั้งเสียงไม่เอาไหนของเขาก็ช่วยทำให้สถานการณ์ที่คับขันให้คลี่คลายได้ เพราะคงไม่มีใครคนไหนที่สามารถทนเสียงของเขาได้ และเป็นคนที่รักเพื่อนพ้องมาก (พากย์เสียงภาษาไทยโดย นิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์[17])
- โดเรมี
- หุ่นยนต์แมวจากอนาคต เป็นน้องสาวของโดราเอมอนสวยน่ารัก แต่ประสิทธิภาพสูงกว่าโดราเอมอนทุกด้านเช่น ความรู้ วิธีใช้ของวิเศษ อาศัยอยู่ที่โลกศตวรรษที่ 22 ไม่ค่อยปรากฏตัวให้พบเห็น จะปรากฏตัวเมื่อโดราเอมอนเรียกขอความช่วยเหลือ หรือ สถานการณ์ที่โดราเอมอนไม่สามารถควบคุมได้ บางครั้งก็มาช่วยเหลือโนบิตะตอนที่โดราเอมอนไม่อยู่ (พากย์เสียงภาษาไทยโดย อรุณี นันทิวาส)
สื่อโดราเอมอน[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อสื่อโดราเอมอน
ดูบทความหลักที่: รายชื่อสื่อโดราเอมอน
ฉบับมังงะ[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอน (มังงะ)
ดูบทความหลักที่: รายชื่อตอนในโดราเอมอน (มังงะ)
ฉบับการ์ตูนทีวี (อะนิเมะ)[แก้]
ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี พ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชัน[18][19] และต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อ[20] สำหรับในประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี
โดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีเป็นภาพยนตร์การ์ตูนชุดสัญชาติญี่ปุ่น (อะนิเมะ) โดยสร้างขึ้นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์ ในประเทศญี่ปุ่นเริ่มในปี พ.ศ. 2516 โดยนิปปอนเทเลวิชัน[18][19] และต่อมาปี พ.ศ. 2522 ทีวีอาซาฮี นำมาออกอากาศต่อ[20] สำหรับในประเทศไทยเริ่มออกกาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2525 ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. จากนั้นก็ได้มีการนำมาออกอากาศเป็นระยะๆ ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ฉบับภาพยนตร์ และโดราเอมอนตอนพิเศษ[แก้]
ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์
โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์[21] และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี[22] ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และยังมีตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูน เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น
ลำดับ ชื่อเรื่องภาษาไทย ปีที่ออกฉาย ฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ
ออริจินอลซีรีส์
1 ผจญภัยไดโนเสาร์ ค.ศ. 1980 ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส
2 บุกพิภพอวกาศ ค.ศ. 1981 ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ
3 ตะลุยแดนมหัศจรรย์ ค.ศ. 1982 อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับแอฟริกากลาง
4 ผจญภัยใต้สมุทร ค.ศ. 1983 ผจญภัยใต้มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
5 ท่องแดนเวทมนตร์ ค.ศ. 1984 โลกเวทมนตร์ที่เกิดจากของวิเศษ
6 สงครามอวกาศ ค.ศ. 1985 การผจญภัยในอวกาศเพื่อช่วยประธานาธิบดีวัยเยาว์
7 สงครามหุ่นเหล็ก ค.ศ. 1986 การผจญภัยกับหุ่นยนต์ยักษ์ในโลกกระจก
8 เผชิญอัศวินไดโนเสาร์ ค.ศ. 1987 โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่
9 ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว ค.ศ. 1988 ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้
10 ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ ค.ศ. 1989 ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน[4]
11 ตะลุยดาวต่างมิติ ค.ศ. 1990 ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อกับโลกด้วยหมอกสีชมพู
12 ตะลุยแดนอาหรับราตรี ค.ศ. 1991 การผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี
13 บุกอาณาจักรเมฆ ค.ศ. 1992 โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อนเมฆ
14 ฝ่าแดนเขาวงกต ค.ศ. 1993 โลกที่หุ่นยนต์ควบคุมมนุษย์
15 สามอัศวินในจินตนาการ ค.ศ. 1994 การผจญภัยในโลกของความฝัน
16 บันทึกการสร้างโลก ค.ศ. 1995 มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้างโลก
17 ผจญภัยสายกาแล็คซี่ ค.ศ. 1996 การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอวกาศปริศนา
18 ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน ค.ศ. 1997 เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย
19 ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ ค.ศ. 1998 ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ยุคศตวรรษที่ 17[4]
20 ตะลุยอวกาศ ค.ศ. 1999 การตะลุยอวกาศเพื่อตามไจแอนท์และซึเนะโอะกลับโลก[4]
21 ตำนานสุริยกษัตริย์ ค.ศ. 2000 ดินแดนยุคอารยธรรมมายา
22 อัศวินแดนวิหค ค.ศ. 2001 การผจญภัยในดินแดนวิหค เบิร์ดโธเปีย
23 ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ ค.ศ. 2002 การช่วยเหลือหุ่นยนต์จากต่างดาว
24 ผจญภัยดินแดนแห่งสายลม ค.ศ. 2003 ไข่ลูกพายุไต้ฝุ่นและดินแดนแห่งสายลม
25 ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว ค.ศ. 2004 ดินแดนแห่งหมาและแมวที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา
นิวเจเนอเรชัน
26 ไดโนเสาร์ของโนบิตะ ค.ศ. 2006 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญภัยไดโนเสาร์
27 ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษ ค.ศ. 2007 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนเวทมนตร์
28 ตำนานยักษ์พฤกษา ค.ศ. 2008 โลกแห่งต้นไม้และป่าไม้
29 โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ค.ศ. 2009 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ
30 สงครามเงือกใต้สมุทร ค.ศ. 2010 การผจญภัยในโลกใต้ทะเล
31 ผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก ค.ศ. 2011 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง สงครามหุ่นเหล็ก
32 ผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ ค.ศ. 2012 เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ
33 ล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ ค.ศ. 2013 พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต
34 บุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ ค.ศ. 2014 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ตะลุยแดนมหัศจรรย์
SPECIAL สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป ภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติครั้งแรกของโดราเอมอน
35 ผู้กล้าแห่งอวกาศ ค.ศ. 2015 หลงเข้าไปในอวกาศของจริงจากการเล่นเป็นฮีโร่อวกาศ
36 กำเนิดประเทศญี่ปุ่น ค.ศ. 2016 นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ
นอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ทั้ง 8 ชุด
- ตอน คุณยายของผม
- ตอน คืนก่อนแต่งงานของโนบิตะ
- ตอน โจรลึกลับโดราแปง กับ สารท้าประลอง
- ตอน โดเรมี่ อาราระ กับเหล่าเยาวชนในอดีต
- ตอน ปีศาจเจ้าปัญหา
- ตอน ย้อนอดีตหาโมโมทาโร่
- ตอน เหรียญทองในความฝันของโนบิตะ
- ตอน 7 โดราเอมอนกับแมลงหุ่นยนต์
- ตอน ความลับของโดเรมี่
- ตอน ฉลองครบรอบ 25 ปีโดราเอมอน
- ตอน กำเนิดโดราเอมอน
- ตอน ผจญภัยใต้ทะเลลึก
- ตอน สงครามตะลุยอวกาศ
- ตอน เรื่องประหลาดกำเนิดโดราเอมอน
- ตอน ช้างน้อยฮานะจัง
- ตอน ช้างกับคุณลุง
- ตอน หลุมทิ้งขยะต่างมิติ
- ตอน ลูกตุ้มแห่งโชคลาภ
- ตอน ผีดุที่วัดหลังเขา
- ตอน ไขปริศนาตำนานอุราชิม่าทาโร่
- ตอน ผจญภัยยุคหิน
- ตอน จงยืนด้วยขาของตัวเองนะ โนบิตะเอ๋ย
- ตอน แผนส่งหมาป่ากลับบ้าน
- ตอน ท่านเจ้าเมืองท่องอนาคต
- ตอน สมมุติการจากไปของโนบิตะ
- ตอน ปราสาทมิวฮาวเซ่นยินดีต้อนรับ
- ตอน อุปกรณ์คนติดเกาะ
- ตอน โนบิตะยอดมือปืน
- ตอน เครื่องตกของจำลองบ่อปลา
- ตอน สู้เค้า โนบิตะแมน
- ตอน สายการบินโนบิตะ
- ตอน แคปซูลกาลเวลา
- ตอน โนบิตะติดเกาะ
- ตอน บอลลูนรอบโลก
- ตอน แฮงไกรเดอร์สำหรับเด็ก
- ตอน อพาร์ทเมนท์รากไม้
- ตอน โนบิตะ ยอดนักถาม
- ตอน เครื่องสร้างประเทศตามใจชอบ
- ตอน ลาก่อนนะ!โดราเอมอน
- ฯลฯ
ดูบทความหลักที่: โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์
โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ เป็นอะนิเมะตอนพิเศษ ซึ่งมีการจัดทำขึ้นเป็นภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องยาว และหนังสือการ์ตูน โดยเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1980 (พ.ศ. 2523) เป็นปีแรกที่มีการสร้างฉบับภาพยนตร์ชื่อตอนว่า ตะลุยแดนไดโนเสาร์[21] และมีการสร้างตอนพิเศษเรื่อยมาทุกปี[22] ทั้งนี้ในปีพ.ศ. 2548 เป็นปีครบรอบ 25 ปีของการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ นอกจากนั้นยังมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องนี้ออกมาเป็นตอนพิเศษอีกด้วย โดยมีวีซีดีออกมาครบแล้ว 30 แผ่น 30 ตอน และมีการนำตอนเก่ามาสร้างใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา และยังมีตอนที่ไม่ได้มาจากหนังสือการ์ตูน เรียงตามการออกฉายในโรงภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่น
ลำดับ | ชื่อเรื่องภาษาไทย | ปีที่ออกฉาย | ฉากสำคัญของเรื่อง / หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ออริจินอลซีรีส์ | |||
1 | ผจญภัยไดโนเสาร์ | ค.ศ. 1980 | ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส |
2 | บุกพิภพอวกาศ | ค.ศ. 1981 | ใต้เสื่อของห้องโนบิตะเป็นทางเชื่อมต่อระหว่างมิติ |
3 | ตะลุยแดนมหัศจรรย์ | ค.ศ. 1982 | อาณาจักรสุนัขในดินแดนลึกลับแอฟริกากลาง |
4 | ผจญภัยใต้สมุทร | ค.ศ. 1983 | ผจญภัยใต้มหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า |
5 | ท่องแดนเวทมนตร์ | ค.ศ. 1984 | โลกเวทมนตร์ที่เกิดจากของวิเศษ |
6 | สงครามอวกาศ | ค.ศ. 1985 | การผจญภัยในอวกาศเพื่อช่วยประธานาธิบดีวัยเยาว์ |
7 | สงครามหุ่นเหล็ก | ค.ศ. 1986 | การผจญภัยกับหุ่นยนต์ยักษ์ในโลกกระจก |
8 | เผชิญอัศวินไดโนเสาร์ | ค.ศ. 1987 | โลกใต้พิภพที่ไดโนเสาร์ที่พัฒนาแล้วอาศัยอยู่ |
9 | ท่องแดนเทพนิยายไซอิ๋ว | ค.ศ. 1988 | ภาพยนตร์ชุดนี้ไม่ได้ตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูน ใช้โครงเรื่องที่ผู้เขียนวางไว้ |
10 | ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ | ค.ศ. 1989 | ประเทศญี่ปุ่นที่มนุษย์โบราณชาวจีนอาศัยอยู่เมื่อ 7 หมื่นปีก่อน[4] |
11 | ตะลุยดาวต่างมิติ | ค.ศ. 1990 | ดาวสัตว์ที่เชื่อมต่อกับโลกด้วยหมอกสีชมพู |
12 | ตะลุยแดนอาหรับราตรี | ค.ศ. 1991 | การผจญภัยในดินแดนอาหรับราตรี |
13 | บุกอาณาจักรเมฆ | ค.ศ. 1992 | โลกของมนุษย์และสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วบนก้อนเมฆ |
14 | ฝ่าแดนเขาวงกต | ค.ศ. 1993 | โลกที่หุ่นยนต์ควบคุมมนุษย์ |
15 | สามอัศวินในจินตนาการ | ค.ศ. 1994 | การผจญภัยในโลกของความฝัน |
16 | บันทึกการสร้างโลก | ค.ศ. 1995 | มนุษย์แมลงที่กำเนิดขึ้นในโลกของโนบิตะที่สร้างจากชุดสร้างโลก |
17 | ผจญภัยสายกาแล็คซี่ | ค.ศ. 1996 | การเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ในอวกาศด้วยรถไฟอวกาศปริศนา |
18 | ตะลุยเมืองตุ๊กตาไขลาน | ค.ศ. 1997 | เมืองของเล่นมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์น้อย |
19 | ผจญภัยเกาะมหาสมบัติ | ค.ศ. 1998 | ผจญภัยหาสมบัติในหมู่เกาะทะเลใต้ยุคศตวรรษที่ 17[4] |
20 | ตะลุยอวกาศ | ค.ศ. 1999 | การตะลุยอวกาศเพื่อตามไจแอนท์และซึเนะโอะกลับโลก[4] |
21 | ตำนานสุริยกษัตริย์ | ค.ศ. 2000 | ดินแดนยุคอารยธรรมมายา |
22 | อัศวินแดนวิหค | ค.ศ. 2001 | การผจญภัยในดินแดนวิหค เบิร์ดโธเปีย |
23 | ตะลุยอาณาจักรหุ่นยนต์ | ค.ศ. 2002 | การช่วยเหลือหุ่นยนต์จากต่างดาว |
24 | ผจญภัยดินแดนแห่งสายลม | ค.ศ. 2003 | ไข่ลูกพายุไต้ฝุ่นและดินแดนแห่งสายลม |
25 | ท่องอาณาจักรโฮ่งเหมียว | ค.ศ. 2004 | ดินแดนแห่งหมาและแมวที่โนบิตะได้พัฒนาพวกเขาขึ้นมา |
นิวเจเนอเรชัน | |||
26 | ไดโนเสาร์ของโนบิตะ | ค.ศ. 2006 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ผจญภัยไดโนเสาร์ |
27 | ตะลุยแดนปีศาจกับ 7 ผู้วิเศษ | ค.ศ. 2007 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนเวทมนตร์ |
28 | ตำนานยักษ์พฤกษา | ค.ศ. 2008 | โลกแห่งต้นไม้และป่าไม้ |
29 | โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ | ค.ศ. 2009 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง โนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ |
30 | สงครามเงือกใต้สมุทร | ค.ศ. 2010 | การผจญภัยในโลกใต้ทะเล |
31 | ผจญกองทัพมนุษย์เหล็ก | ค.ศ. 2011 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง สงครามหุ่นเหล็ก |
32 | ผจญภัยในเกาะมหัศจรรย์ | ค.ศ. 2012 | เกาะที่มีสัตว์หายากและสัตว์สูญพันธุ์อาศัยบนเกาะ |
33 | ล่าโจรปริศนาในพิพิธภัณฑ์ของวิเศษ | ค.ศ. 2013 | พิพิธภัณฑ์ของวิเศษในโลกอนาคต |
34 | บุกดินแดนมหัศจรรย์ เปโกะกับห้าสหายนักสำรวจ | ค.ศ. 2014 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ตะลุยแดนมหัศจรรย์ |
SPECIAL | สแตนด์บายมี โดราเอมอน เพื่อนกันตลอดไป | ภาพยนตร์แอนิเมชันคอมพิวเตอร์ในรูปแบบสามมิติครั้งแรกของโดราเอมอน | |
35 | ผู้กล้าแห่งอวกาศ | ค.ศ. 2015 | หลงเข้าไปในอวกาศของจริงจากการเล่นเป็นฮีโร่อวกาศ |
36 | กำเนิดประเทศญี่ปุ่น | ค.ศ. 2016 | นำกลับมาสร้างใหม่อีกครั้ง จากเรื่อง ท่องแดนญี่ปุ่นโบราณ |
นอกจากโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ที่มีการฉายทุกปีแล้ว ยังมีภาพยนตร์การ์ตูนตอนพิเศษดังนี้ รวมโดราเอมอน ตอนพิเศษ ของ บริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ทั้ง 8 ชุด
|
|
เพลงประกอบ[แก้]
- ดูบทความหลักที่ เพลงประกอบ
- ดูบทความหลักที่ เพลงประกอบ
โดราเอมอนกับประเทศไทย[แก้]
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟุจิโกะ ฟุจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[23]
ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525)[24] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[25] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี
นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดีวีดี
การ์ตูนโดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนภาษาไทย สร้างปรากฏการณ์เป็นที่กล่าวถึงในวงการการ์ตูนเป็นอย่างมาก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในช่วงกลางปี พ.ศ. 2524 โดยสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสำนักพิมพ์มิตรไมตรี โดยตั้งชื่อการ์ตูนเรื่องนี้ว่า "โดราเอมอน แมวจอมยุ่ง" แปลเป็นภาษาไทยโดย อนุสรณ์ สถิรวัฒน์ ต่อมาสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจก็ได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้เช่นกัน แต่เลือกใช้ชื่อว่า "โดเรมอน" เพื่อไม่ให้ซ้ำกับทางสำนักพิมพ์แรก ในสมัยนั้นยังเป็นช่วงของหนังสือการ์ตูนที่ยังไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องจากทางญี่ปุ่น ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงไม่ได้พิมพ์ตอนตามลำดับของต้นฉบับทำให้มีการลงตอนซ้ำกัน โดราเอมอนได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้ง 2 สำนักพิมพ์จึงแข่งกันทางด้านความถี่ของการออกจัดจำหน่าย จากเดือนละเล่มในช่วงต้น ก็เปลี่ยนเป็นเดือนละ 2 เล่ม จนถึงอาทิตย์ละเล่ม สุดท้ายทางสำนักพิมพ์ธิดาน้อย ก็พิมพ์ถึงเดือนละ 3 เล่ม พิมพ์ไม่น้อยกว่า 70,000 เล่มต่อครั้ง ด้วยความถี่ในการพิมพ์ และการไม่มีการจัดลำดับถูกต้องตามต้นฉบับ ทำให้ในเวลาเพียง 7-8 เดือนการ์ตูนเรื่องนี้ก็ตีพิมพ์ครบทุกตอนตามต้นฉบับของฟุจิโกะ ฟุจิโอะที่ใช้เวลาเขียนติดต่อกันร่วม 10 ปี
หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์ไทยรัฐได้เห็นความนิยมของโดราเอมอน จึงได้มีการตีพิมพ์การ์ตูนเรื่องนี้ลงเป็นตอนๆ ในแต่ละวันโดยเริ่มวันแรกวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้องการไม่ให้ชื่อซ้ำกับทาง 2 สำนักพิมพ์แรก ไทยรัฐจึงได้ตั้งชื่อใหม่อีกเป็น "โดรามอน เจ้าแมวจอมยุ่ง" ด้วยเหตุนี้เองทำให้คนไทยเรียกชื่อ โดราเอมอน ต่างกันหลายชื่อ
สำนักพิมพ์สุดท้ายที่ตีพิมพ์โดราเอมอนฉบับหนังสือการ์ตูนในยุคนั้นคือ สยามสปอร์ตพับลิชชิง หรือสยามอินเตอร์คอมิกส์ ในปัจจุบัน และใช้ชื่อตามหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ แต่มีการแถมรูปลอกมาพร้อมในเล่ม อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ที่ใหญ่โตที่แดนเนรมิต ใช้ชื่องานว่า "โลกของโดรามอน" จัดให้มีกิจกรรมมากมายเช่น การประกวดร้องเพลงโดราเอมอนภาษาไทย ซึ่งร่วมมือกับค่ายเพลง อโซน่า ถึง 6 เพลง อีกทั้งยังมีนำเข้าสินค้าตัวละครโดราเอมอนจากประเทศฮ่องกงมาจำหน่ายในงานอีกด้วย จนในปัจจุบันการ์ตูนเรื่องนี้ได้รับการซื้อลิขสิทธิ์ฉบับหนังสือการ์ตูนอย่างถูกต้อง โดยสำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ ซึ่งมีการตีพิมพ์ 45 เล่ม และมีการรวมเล่มพิเศษอีกหลายฉบับเช่น โดราเอมอนชุดพิเศษ โดราเอมอนพลัส และโดราเอมอนบิ๊กบุคส์ อีกทั้งยังมีตีพิมพ์ซ้ำแล้วหลายรอบ[23]
ในปีพ.ศ. 2525 ทางไชโยภาพยนตร์ได้มีการฉายโดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ขึ้นถึง 2 ตอนด้วยกัน คือตอน ไดโนเสาร์ของโนบิตะ และโนบิตะนักบุกเบิกอวกาศ ซึ่งก็ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ทางช่อง 9 ก็ได้มีการออกอากาศโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวี ทางโทรทัศน์ เริ่มเมื่อวันที่ 5 กันยายน ในปีเดียวกัน (พ.ศ. 2525)[24] ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดีเช่นกัน ทำให้ช่อง 9 ได้รับการยอมรับในเรื่องของการออกอากาศภาพยนตร์การ์ตูนทางโทรทัศน์ และทีมนักพากย์การตูนอีกด้วย (นิตยสาร a day, 2545: 70) สำหรับในปัจจุบัน โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์มีการจัดฉายในโรงภาพยนตร์เป็นประจำทุกปีอีกครั้ง โดยบริษัทดับบลิวพีเอ็มฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล เริ่มในปีพ.ศ. 2544 เป็นต้นมา[25] ส่วนโดราเอมอนฉบับการ์ตูนทีวีนั้นก็มีการฉายซ้ำเป็นระยะ และฉายตอนใหม่อยู่เรื่อย ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ โมเดิร์นไนน์ ทีวี
นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันดีถึงประเทศนี้แล้ว จนถึงกับมีการทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นไทย โดยฝีมือคนไทย ทางบริษัทไร้ท์ บิยอนด์ทำการ์ตูนไทยโดราเอมอน ชุด "นิทานของโนบิตะ" โดราเอมอนชอบโดรายากิ ส่วนโนบิตะชอบเรียน ชอบหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และชอบอ่านนิทานสนุกสนาน ซึ่งออกจำหน่ายในรุปแบบ วีซีดีและดีวีดี
ของวิเศษ[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน
ของวิเศษของโดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもんの道具一覧 Doraemon no dōgu ichiran ?) เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋ามิติที่ 4 ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋ามิติที่สี่ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon FanClub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น
ดูบทความหลักที่: รายชื่อของวิเศษของโดราเอมอน
ของวิเศษของโดราเอมอน (ญี่ปุ่น: ドラえもんの道具一覧 Doraemon no dōgu ichiran ?) เป็นอุปกรณ์หลากหลายรูปแบบที่โดราเอมอน หยิบนำมาใช้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระเป๋ามิติที่ 4 ที่อยู่ที่หน้าท้องของโดราเอมอน ของวิเศษส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ในนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งบางอย่างก็จะเป็นการดัดแปลงจากข้าวของเครื่องใช้ในบ้านของชาวญี่ปุ่นเอง และยังมีของวิเศษบางชิ้นก็อ้างถึงความเชื่อทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่น ของวิเศษในเรื่องโดราเอมอนนั้นมีประมาณ 4,500 ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะปรากฏออกมาให้เห็นเพียงตอนเดียว แต่ก็ยังมีของวิเศษบางชิ้นที่โดราเอมอนหยิบออกจากกระเป๋านำมาใช้บ่อยครั้ง
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋ามิติที่สี่ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon FanClub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น
ศาตราจารย์ยาสึยูกิ โยโกยามะ แห่งมหาวิทยาลัยโทยามะ ได้ทำการวิจัยผลงานเรื่องโดราเอมอน และเปิดเผยว่าของวิเศษที่โดราเอมอนหยิบออกมาจากกระเป๋ามิติที่สี่ มีทั้งหมด 1,963 ชิ้น ในขณะที่เว็บไซต์ Doraemon FanClub บันทึกจำนวนของวิเศษเอาไว้ทั้งหมด 1,812 ชิ้น
ความนิยมและส่วนเกี่ยวข้อง[แก้]
โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ [26]
เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง [27]
โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[27]
นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[28]
- ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[29]
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม
- ประเทศเวียดนามนิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
- พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9
- พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบัลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารุคุง" (ドラバルくん) โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบัลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ" (ドラ熱気球2号機)[30]
- พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน" (ソラえもん号)[31]
- พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า[32]
- ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[33]
โดราเอมอนเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และแม้ว่าเรื่องนี้จะจบลงไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงเป็นที่นิยมกันอยู่ โดยมีการพิมพ์ใหม่ หรือนำออกมาฉายซ้ำออกอากาศอยู่เรื่อยๆ [26]
เคยมีการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางจิตวิทยาว่าสาเหตุที่ทำให้การ์ตูนเรื่องนี้เป็นที่นิยมมากนั้น เป็นเพราะตัวละครโนบิตะ มีลักษณะเป็นคนอ่อนแอ ขี้แพ้ ทำอะไรก็มักไม่ค่อยสำเร็จ หากมีเรื่องที่ถนัดอยู่บ้างก็เป็นเรื่องที่สังคมไม่ให้ความสำคัญหรือการยกย่อง เช่น เล่นพันด้าย หรือยิงปืนแม่น และเนื่องจากลักษณะนี้เองทำให้ผู้อ่านส่วนใหญ่มีความรู้สึก "มีส่วนร่วม" และเปิดใจให้ตัวละครอย่างโนบิตะเข้ามาในจิตใจได้ เพราะในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ล้วนรู้สึกว่าตนเองคือผู้แพ้ คือผู้ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถูกรังแก ไร้ความสามารถ หน้าตาไม่ดี ไม่มีความสามารถ และย่อมอยากและหวังว่าสักวันหนึ่งจะมีผู้มาช่วยเหลือเรื่องต่างๆให้แก่เรา ซึ่งในเรื่องนี้ก็คือโดราเอมอนนั่นเอง [27]
โดราเอมอนนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นแม่อย่างหนึ่งก็ได้ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า โดราเอมอนมักออกมาช่วยเหลือ ปกป้อง แก้ปัญหาให้โนบิตะ ในยามคับขันหรือเดือดร้อน เสมอๆ เป็นบทบาทของ "แม่ผู้ใจดี" ซึ่งก็คือสิ่งที่มนุษย์เราต้องการอยู่ลึกๆ และในบางตอนโดราเอมอนก็แสดงบท "แม่ใจร้าย" คือการแก้เผ็ดหรือปล่อยให้โนบิตะผจญกับความยากลำบากที่มักเป็นผู้ก่อขึ้นเองจากความรู้สึกในด้านชั่วร้าย เช่นการอิจฉาริษยาผู้อื่น การเกลียดชังผู้อื่น การโกหก เพื่อเป็นการสั่งสอนโนบิตะให้รู้จักความผิดชอบชั่วดี[27]
นอกจากนี้ โดราเอมอนยังมีอิทธิพลทางวัฒนธรรม ดังนี้
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนเป็นหนึ่งในการ์ตูนญี่ปุ่นที่ขายได้มากกว่า 75,000,000 เล่ม[28]
- ประเทศแรกที่ฉายโดราเอมอนต่อจากญี่ปุ่น คือฮ่องกง ใน พ.ศ. 2524[29]
- หนังสือการ์ตูนโดราเอมอนมีหลายภาษาด้วยกัน ไม่ต่ำกว่า 9 ภาษาทั่วโลก ตีพิมพ์ในประเทศ เช่น ประเทศเกาหลีใต้ สเปน จีน เวียดนาม
- ประเทศเวียดนามนิยมการ์ตูนโดราเอมอนเป็นอย่างมาก ถึงขนาดมีมูลนิธิเพื่อการศึกษาโดราเอมอน เริ่มตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2536 แบบไม่ถูกลิขสิทธิ์ และใน พ.ศ. 2541 จึงมีการตีพิมพ์ฉบับลิขสิทธิ์ ก็ยังได้รับความนิยมเสมอมา
- พ.ศ. 2525 หนึ่งในผู้ให้กำเนิดโดราเอมอน ฮิโรชิ ฟุจิโมโตะ ได้เดินทางมาประชาสัมพันธ์โดราเอมอนฉบับภาพยนตร์ให้กับทางไชโยภาพยนตร์ และออกรายการ "อาทิตย์ยิ้ม" ของดำรง พุฒตาล ทางช่อง 9
- พ.ศ. 2531 โดราเอมอนได้รับเกียรตินำไปสร้างเป็นบัลลูนขนาดยักษ์ชื่อ "โดราบารุคุง" (ドラバルくん) โดยปล่อยให้ลอยอยู่บนท้องฟ้ามาเป็นเวลานาน 12 ปี และจากนั้นในปี พ.ศ. 2543 ก็ได้มีการสร้างบัลลูนลูกใหม่ขึ้นมาในชื่อว่า "โดราเน็ตสึคิคิว นิโกคิ" (ドラ熱気球2号機)[30]
- พ.ศ. 2535 ในการประกวดแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ โครงการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ได้มีการผลิตรถพลังแสงอาทิตย์ตามตัวละครโดราเอมอนขึ้นมา เรียกว่า "โซราเอมอน" (ソラえもん号)[31]
- พ.ศ. 2540 ในวันที่ 2 พฤษภาคม สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานข่าวการวางจำหน่ายแสตมป์โดราเอมอนที่ประเทศญี่ปุ่น มีสีเขียว ส้ม ชมพู และสีน้ำเงิน โดยมีการต่อแถวรอซื้อตั้งแต่เช้า[32]
- ในประเทศญี่ปุ่น มีรถไฟโดราเอมอนอยู่ด้วย โดยเป็นเส้นทางจากอาโอโมริไปฮาโกดาเตะ ตัวโบกี้มีการตกแต่งด้วยตัวละครจากโดราเอมอนทั้งภายนอกและภายใน และมีโบกี้พิเศษสำหรับแฟนคลับโดราเอมอน โดยมีภาพยนตร์การ์ตูน ของที่ระลึกจัดจำหน่าย รวมไปถึงพนักงานต้อนรับสวมหัวโดราเอมอนซึ่งคอยบริการอยู่บนรถไฟ[33]
โดจินชิ[แก้]
โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ[34] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลาย ๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน[34][35] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[34] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[35][36] ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง
โดราเอมอนถูกนักวาดการ์ตูนคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้แต่งแท้จริงเขียนซ้ำ หรือที่เรียกว่า โดจินชิ ออกมามากมาย โดจินชิที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดก็คือ ผลงานของนักวาดการ์ตูนชาวญี่ปุ่น ยาสุเอะ ทาจิมะ[34] ซึ่งเป็นโดจินชิตอนจบของโดราเอมอน โดยนำเค้าโครงเรื่องมาจากตอนจบของโดราเอมอนหลาย ๆ แบบที่ถูกเล่าลือตามเมลลูกโซ่มานาน[34][35] งานโดจินชิเล่มนี้ ได้ออกวางขายครั้งแรกในงานคอมมิกมาร์เก็ต ฤดูร้อน ปี 2548 (ครั้งที่ 68) และครั้งต่อมาในฤดูหนาว (ครั้งที่ 69) ปีเดียวกัน[34] ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากจนหนังสือถึงกับขาดตลาด และถูกนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง
แต่เนื่องจากโดจินชิเล่มนี้ได้รับความนิยมอย่างสูงจนมียอดจำหน่ายมากถึง 15,550 เล่ม นับตั้งแต่ที่เริ่มเปิดตัว ซึ่งส่งผลกระทบต่อทางสำนักพิมพ์โชงะกุกัง ผู้ถือลิขสิทธิ์โดราเอมอนฉบับรวมเล่มเป็นอย่างมาก เพราะโดจินชิเล่มนี้ไม่ใช่ผลงานอย่างเป็นทางการของ ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ อีกทั้งยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับตอนจบที่แท้จริงของโดราเอมอน ทำให้ทางสำนักพิมพ์ต้องออกมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้เขียนว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และขอให้หยุดจำหน่ายโดจินชิเล่มนี้ในทันที รวมถึงการเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตด้วย[35][36] ซึ่ง ยาสุเอะ ทาจิมะ ก็ได้ออกมากล่าวคำขอโทษและแก้ต่างว่าเธอเพียงแค่เขียนโดจินชิเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างอะนิเมะฉบับจอเงิน (ไดโนเสาร์ของโนบิตะ 2006) เท่านั้น ทำให้คดีความทั้งหมดยุติลง
ข่าวลือกับตอนจบของโดราเอมอน[แก้]
การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน ไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน[37] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่โนบิตะเพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด[38]
ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็แต่งงานกับชิสึกะและสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิสึกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชื่อโนบิสึเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข[38]
สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดรามีกับการผจญภัยของโนบิสุเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด
อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟน ๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง [4]
การ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน ไม่มีตอนจบ เนื่องจากผู้เขียนได้เสียชีวิตไปก่อน[37] แต่ก็มีหลายกระแสที่ออกมาบอกว่าผู้แต่งได้วางโครงเรื่องไว้ในตอนจบ ซึ่งต่างกันหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ที่นักอ่านชาวไทยรู้กันดีคือ โดราเอมอนและตัวละครเสริมอื่นๆ นั้นไม่มีจริง มีแค่โนบิตะเพียงคนเดียว ซึ่งโนบิตะในตอนจบนั้นที่จริงแล้วเป็นเด็กที่ไม่สบายใกล้เสียชีวิต อยู่ในโรงพยาบาล และเพื่อนๆยืนอยู่ข้างเตียงของโนบิตะที่ใกล้ตายอยู่ในโรงพยาบาล ซึ่งตอนจบนี้มีความสะเทือนใจอย่างมาก ผิดไปจากการ์ตูนหลายๆ เรื่องที่ผู้เขียนเคยแต่งมา ซึ่งส่วนใหญ่จะจบลงด้วยดีมาตลอด[38]
ส่วนตอนจบอีกแบบหนึ่งคือ อยู่ดีๆ วันหนึ่งโดราเอมอนก็เกิดแบตเตอรี่หมด แล้วหยุดทำงานเสียเฉยๆ โนบิตะจึงปรึกษากับโดเรมี น้องสาวของโดราเอมอน โดรามีบอกโนบิตะว่า ถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ของโดราเอมอน ความจำทั้งหลายจะหายหมด เนื่องจากแบตเตอรี่สำรองไฟที่เก็บความจำของหุ่นยนต์รูปแมวนั้นเก็บไว้ที่หู และอย่างที่ทราบกันว่าโดราเอมอนไม่มีหู ดังนั้นถ้าเปลี่ยนแบตเตอรี่ เขาจะต้องสูญเสียความจำ ต้องนำไปซ่อมที่โลกอนาคต แต่การใช้ ไทม์แมชชีนนั้นผิดกฎหมาย เพราะกฎหมายใหม่ของโลกอนาคต ถ้าส่งโดราเอมอนกลับ โดราเอมอนจะมาหาโนบิตะอีกไม่ได้ ทำให้โนบิตะตัดสินใจไม่เปลี่ยนแบตเตอรี่ แล้วตั้งใจเรียนจนเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก แล้วก็แต่งงานกับชิสึกะและสามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้สำเร็จ โดยที่ความทรงจำไม่หายไป (โดยก่อนที่โนบิตะจะเปลี่ยนแบตเตอรี่ให้โดราเอมอนได้เรียกชิสึกะมาดูโดราเอมอน) และเขาก็มีลูกชื่อโนบิสึเกะ และอยู่ด้วยกันอย่างมีสุข[38]
สำหรับความเป็นไปได้ของตอนจบรูปแบบนี้ได้ปรากฏขึ้นใน "โดรามีกับการผจญภัยของโนบิสุเกะ" ซึ่งเรื่องราวกล่าวถึงโดราเอมอนที่ได้รับการซ่อมแซมจากโนบิตะ ผ่านทางการทักทายของซิซูกะและโดรามี หลังจากที่ทั้งสองไม่ได้เจอหน้ากันมาร่วม 10 ปี โดยบทสนทนานั้นได้มีการพูดถึงโดราเอมอนที่ซ่อมแซมโดยโนบิตะและกลับไปยังยุคของเซวาชิ และในฉากที่โนบิตะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ประดิษฐ์เครื่องติดตามตัวลงในตัวมินิโดราสีแดงซึ่งเป็นผลจากการซ่อมแซมโดราเอมอน ทำให้โนบิตะเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตตนเองในที่สุด
อย่างไรก็ดี โดราเอมอนตอนจบทุกแบบก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเพียงพอว่าเป็นตอนจบที่แท้จริง และอันที่จริงแล้วโดราเอมอนนั้นเคยจบไปแล้วครั้งหนึ่งในตอนสุดท้ายของรวมเล่มฉบับที่ 6 ชื่อตอนว่า "ลาก่อนโดราเอมอน" แต่เนื่องด้วยเหตุผลหลายประการจากทั้งแฟน ๆ และทางสำนักพิมพ์ ในที่สุด ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ จึงได้กลับมาเขียนโดราเอมอนต่ออีกครั้ง [4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Doraemon". animated-divots.com. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2009.
- ↑ "Doraemon". TV Asahi. สืบค้นเมื่อ July 31, 2009.
- ↑ 小学館 -Shogakukan-:ドラえもんの本
- ↑ 4.04.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 4.9 Shogakukan Doraemon - room. ไขความลับของโดเรมอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2553. 184 หน้า. ISBN 978-616-04-0375-2
- ↑ ドラえもん学 - ドラえもんの全作品 (1,345編)
- ↑ 手塚治虫文化賞 - これまでの受賞の記録
- ↑ TIMEasia.com: Asian Heroes - Doraemon
- ↑ "โดราเอมอน" ลั่นพร้อมทำงานเพื่อชาติ, ผู้จัดการออนไลน์, 19 มี.ค. 2551, เรียกข้อมูลเมื่อ 22 มี.ค. 2551
- ↑ バンダイ - 『Myドラえもん』2009年9月3日(木)発売, bandai.co.jp
- ↑ เกี่ยวกับโดราเอมอน
- ↑ http://notetuan.multiply.com/journal/item/2/2?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem
- ↑ โรส มีเดียฯ รุกทำตลาดการ์ตูนปี 2008 อย่างเต็มกำลัง, Rose Media & Entertainment
- ↑ 13.013.1 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=684068
- ↑ คุยกับ "โดราเอมอน"[ลิงก์เสีย], ผู้จัดการออนไลน์, 12 ก.ย. 2546, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 65 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539[ต้องการอ้างอิงเต็ม]
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539[ต้องการอ้างอิงเต็ม]
- ↑ Cartoon Focus -- โดราเอม่อน (Doraemon), kartoon-discovery.com
- ↑ 旧ドラえもんのページ
- ↑ 日本テレビ社史
- ↑ TVアニメ30周年を記念して、ドラえもんの豪華DVDが発売されるよ!(8月7日更新), tv-asahi.co.jp
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History_1st, dora-movie.com
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History, dora-movie.com
- ↑ สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76.
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน "เปิดตำนานโดราเอมอน", ทีวีบูรพา, 2554, สารคดี.
- ↑ เปิดใจ WPM เจ้าของลิขสิทธิ์โดราเอมอน ได้มาเพราะ กล้า รัก และตั้งใจ, ผู้จัดการออนไลน์, 29 ต.ค. 2548, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ 10 อันดับคาแรคเตอร์ยอดนิยมของเด็กญี่ปุ่น
- ↑ 27.027.1 โดราเอมอน (Doraemon) เหตุที่ได้รับความนิยม Cartoon Focus.
- ↑ 藤子・F・不二雄, TSUTAYA DISCAS 宅配DVD/CDレンタル
- ↑ 1981 - Fujiko F Wiki
- ↑ ドラ熱気球2号機大空に発進!!, 小学館ファミリーネット
- ↑ Solar Car Race SUZUKA '92, spacelan.ne.jp, 31 ก.ค. 2535, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ Japanese can't get enough of Doraemon, CNN.com, 2 พ.ค. 2540, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ JR函館駅 ドラえもん列車 吉岡海底駅, whako.com
- ↑ 34.034.1 34.2 การ์ตูนโดราเอม่อน ตอนจบ "โนบิตะนายทำการบ้านรึยัง!!" (ฉบับแปลไทย), พันทิป.คอม, 18 มี.ค. 2549, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ 35.035.1 「ドラえもん」パロディー本 「大ヒット」で困った事態 (ข่าวจาก J-CAST)
- ↑ โชงะกุกังฟ้อง โดราเอมอนตอนจบละเมิดลิขสิทธิ์
- ↑ โดราเอม่อน กับตอนจบที่แท้จริง ในมุมมองของแฟนพันธุ์แท้
- ↑ 38.038.1 โดราเอมอนมีตอนจบ!? คำถามที่ยังคาใจ (คอลัมน์บันเทิง นสพ.คม-ชัด-ลึก)
- ↑ "Doraemon". animated-divots.com. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2009.
- ↑ "Doraemon". TV Asahi. สืบค้นเมื่อ July 31, 2009.
- ↑ 小学館 -Shogakukan-:ドラえもんの本
- ↑ 4.04.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 4.9 Shogakukan Doraemon - room. ไขความลับของโดเรมอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2553. 184 หน้า. ISBN 978-616-04-0375-2
- ↑ ドラえもん学 - ドラえもんの全作品 (1,345編)
- ↑ 手塚治虫文化賞 - これまでの受賞の記録
- ↑ TIMEasia.com: Asian Heroes - Doraemon
- ↑ "โดราเอมอน" ลั่นพร้อมทำงานเพื่อชาติ, ผู้จัดการออนไลน์, 19 มี.ค. 2551, เรียกข้อมูลเมื่อ 22 มี.ค. 2551
- ↑ バンダイ - 『Myドラえもん』2009年9月3日(木)発売, bandai.co.jp
- ↑ เกี่ยวกับโดราเอมอน
- ↑ http://notetuan.multiply.com/journal/item/2/2?&show_interstitial=1&u=%2Fjournal%2Fitem
- ↑ โรส มีเดียฯ รุกทำตลาดการ์ตูนปี 2008 อย่างเต็มกำลัง, Rose Media & Entertainment
- ↑ 13.013.1 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=684068
- ↑ คุยกับ "โดราเอมอน"[ลิงก์เสีย], ผู้จัดการออนไลน์, 12 ก.ย. 2546, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 65 ประจำเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2539[ต้องการอ้างอิงเต็ม]
- ↑ นิตยสารบิ๊กตูน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 60 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539[ต้องการอ้างอิงเต็ม]
- ↑ Cartoon Focus -- โดราเอม่อน (Doraemon), kartoon-discovery.com
- ↑ 旧ドラえもんのページ
- ↑ 日本テレビ社史
- ↑ TVアニメ30周年を記念して、ドラえもんの豪華DVDが発売されるよ!(8月7日更新), tv-asahi.co.jp
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History_1st, dora-movie.com
- ↑ DORAEMON THE MOVIE 25th_Film History, dora-movie.com
- ↑ สมประสงค์ เจียมบุญสม, นิตยสาร a day ปีที่ 2 ฉบับที่ 18, กุมภาพันธ์ 2545, หน้า 62-76.
- ↑ รายการ กบนอกกะลา ตอน "เปิดตำนานโดราเอมอน", ทีวีบูรพา, 2554, สารคดี.
- ↑ เปิดใจ WPM เจ้าของลิขสิทธิ์โดราเอมอน ได้มาเพราะ กล้า รัก และตั้งใจ, ผู้จัดการออนไลน์, 29 ต.ค. 2548, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ 10 อันดับคาแรคเตอร์ยอดนิยมของเด็กญี่ปุ่น
- ↑ 27.027.1 โดราเอมอน (Doraemon) เหตุที่ได้รับความนิยม Cartoon Focus.
- ↑ 藤子・F・不二雄, TSUTAYA DISCAS 宅配DVD/CDレンタル
- ↑ 1981 - Fujiko F Wiki
- ↑ ドラ熱気球2号機大空に発進!!, 小学館ファミリーネット
- ↑ Solar Car Race SUZUKA '92, spacelan.ne.jp, 31 ก.ค. 2535, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ Japanese can't get enough of Doraemon, CNN.com, 2 พ.ค. 2540, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ JR函館駅 ドラえもん列車 吉岡海底駅, whako.com
- ↑ 34.034.1 34.2 การ์ตูนโดราเอม่อน ตอนจบ "โนบิตะนายทำการบ้านรึยัง!!" (ฉบับแปลไทย), พันทิป.คอม, 18 มี.ค. 2549, เรียกข้อมูลเมื่อ 18 ก.ย. 2552
- ↑ 35.035.1 「ドラえもん」パロディー本 「大ヒット」で困った事態 (ข่าวจาก J-CAST)
- ↑ โชงะกุกังฟ้อง โดราเอมอนตอนจบละเมิดลิขสิทธิ์
- ↑ โดราเอม่อน กับตอนจบที่แท้จริง ในมุมมองของแฟนพันธุ์แท้
- ↑ 38.038.1 โดราเอมอนมีตอนจบ!? คำถามที่ยังคาใจ (คอลัมน์บันเทิง นสพ.คม-ชัด-ลึก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น