พระมณีรัตนา , พระนางมณีจันทร์ หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2แห่งกรุงศรีอยุธยา
พระนางมณีจันทร์ เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หรือ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา มีเชื้อสายราชนิกูลมอญ จากเมืองเมาะลำเลิง
ในวัยเด็กทรงถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยอยู่ยังหงสาวดี และได้พบกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งสองพระองค์ทรงชอบพอกันมาตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อมณีจันทร์เติบโตเป็นสาวแรกรุ่น พระนเรศวรจึงได้ถวายตัวไว้กับพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระพี่นาง ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตกเป็นองค์ประกันอยู่ที่หงสาวดี เพื่อให้มณีจันทร์ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอยุธยา ต่อมามณีจันทร์จึงได้เลื่อนยศเป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา
ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชิงประกาศเอกราช ณ เมืองแครง ได้ทำการกวาดต้อนครัวไทย ครัวมอญหนีกลับอโยธยา ในการนั้นพระสุพรรณกัลยาได้รับสั่งให้มณีจันทร์ ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกลับมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการแต่งตั้งขึ้นที่มหาอุปราชา ครองเมืองพระพิษณุโลกสองแคว เษกสมรสกับพระนางมณีจันทร์
การพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาต่อจากพระบิดาเป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 ส่วนพระนางมณีจันทร์ได้รับการสถาปนาขึ้นที่ สมเด็จพระอัครมเหสี เฉลิมพระนามในพระสุพรรณบัฏ ว่า พระมณีรัตนา
ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จสวรรคต พระนางมณีจันทร์ทรงหลบหนีราชภัยตามกฎมณเฑียรบาลในการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ทรงนำบริวารจำนวนหนึ่งล่องเรือสำเภาทวนแม่น้ำปิงขึ้นไปทางภาคเหนือ ทรงไปสร้างวัดและบวชชีโดยใช้พระนามแฝงว่า แม่อิ ทรงจำวัดอยู่ที่วัดนั้น ปัจจุบันคือ วัดท่าแม่อิ หรือวัดท่าใหม่อิ จ.เชียงใหม่
พระนางมณีจันทร์ หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่จมื่นศรีสรรักษ์ (ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า จมื่นศรีสรรักษ์นี้ เป็นพระราชโอรสลับๆของสมเด็จพระนเรศวรกับพระนางมณีจันทร์ จึงเป็นเหตุร้อนพระทัยถึงพระนางมณีจันทร์ ทำให้ต้องเดินทางมาขอพระราชทานอภัยโทษ เนื่องด้วยจำเป็นต้องรักษาปกป้ององค์พระรัชทายาทในสมเด็จพระนเรศวรเอาไว้ให้ถึงที่สุด นับว่า เจ้าขรัวมณีจันทร์นั้นก็ทรงมีอิทธิพลต่อสมเด็จพระเอกาทศรถมากขนาดที่ว่าพระเอกาทศรถจำต้องพระราชทานอภัยโทษให้แก่จมื่นศรีสรรักษ์
ในวัยเด็กทรงถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยอยู่ยังหงสาวดี และได้พบกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทั้งสองพระองค์ทรงชอบพอกันมาตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อมณีจันทร์เติบโตเป็นสาวแรกรุ่น พระนเรศวรจึงได้ถวายตัวไว้กับพระสุพรรณกัลยา สมเด็จพระพี่นาง ในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งตกเป็นองค์ประกันอยู่ที่หงสาวดี เพื่อให้มณีจันทร์ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอยุธยา ต่อมามณีจันทร์จึงได้เลื่อนยศเป็นนางสนองพระโอษฐ์ ในสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา
ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงชิงประกาศเอกราช ณ เมืองแครง ได้ทำการกวาดต้อนครัวไทย ครัวมอญหนีกลับอโยธยา ในการนั้นพระสุพรรณกัลยาได้รับสั่งให้มณีจันทร์ ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกลับมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้รับการแต่งตั้งขึ้นที่มหาอุปราชา ครองเมืองพระพิษณุโลกสองแคว เษกสมรสกับพระนางมณีจันทร์
การพิธีราชาภิเษกสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาต่อจากพระบิดาเป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2 ส่วนพระนางมณีจันทร์ได้รับการสถาปนาขึ้นที่ สมเด็จพระอัครมเหสี เฉลิมพระนามในพระสุพรรณบัฏ ว่า พระมณีรัตนา
ภายหลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเสด็จสวรรคต พระนางมณีจันทร์ทรงหลบหนีราชภัยตามกฎมณเฑียรบาลในการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน ทรงนำบริวารจำนวนหนึ่งล่องเรือสำเภาทวนแม่น้ำปิงขึ้นไปทางภาคเหนือ ทรงไปสร้างวัดและบวชชีโดยใช้พระนามแฝงว่า แม่อิ ทรงจำวัดอยู่ที่วัดนั้น ปัจจุบันคือ วัดท่าแม่อิ หรือวัดท่าใหม่อิ จ.เชียงใหม่
พระนางมณีจันทร์ หรือ เจ้าขรัวมณีจันทร์ ได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปลายรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่อทูลขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่จมื่นศรีสรรักษ์ (ซึ่งต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง) นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่า จมื่นศรีสรรักษ์นี้ เป็นพระราชโอรสลับๆของสมเด็จพระนเรศวรกับพระนางมณีจันทร์ จึงเป็นเหตุร้อนพระทัยถึงพระนางมณีจันทร์ ทำให้ต้องเดินทางมาขอพระราชทานอภัยโทษ เนื่องด้วยจำเป็นต้องรักษาปกป้ององค์พระรัชทายาทในสมเด็จพระนเรศวรเอาไว้ให้ถึงที่สุด นับว่า เจ้าขรัวมณีจันทร์นั้นก็ทรงมีอิทธิพลต่อสมเด็จพระเอกาทศรถมากขนาดที่ว่าพระเอกาทศรถจำต้องพระราชทานอภัยโทษให้แก่จมื่นศรีสรรักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น